เคยสงสัยกันไหมว่าเวลาที่เราไปหาหมอทุกครั้งจะมีการตรวจเช็คร่างกายเราอยู่ 2 อย่างคือ
1.วัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อตรวจหาว่าเรามีอาการไข้หรือไม่ โดยปกติแล้วมนุษย์เราเมื่อไม่สบายมักจะมีอาการไข้ร่วมด้วยอยู่บ่อย ๆ ดังนั้นหากตรวจเจอว่ามีไข้ก็สันนิฐานเบื้องต้นได้ว่าอาจมีอาการป่วยจริง ๆ เพราะว่าเมื่อร่างกายเราได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะมีกระบวนการกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกาย โดยกระบวนการนี้จะเร่งให้ร่างกายสร้างความร้อนมากขึ้นเพื่อกำจัดเชื้อโรคจึงเป็นที่มาว่าเมื่อวัดด้วยปรอทวัดไข้แล้วอุณหภูมิแสดงว่าร่างกายได้รับเชื้อโรคแล้วนั่นเองจึงต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
2. วัดความดัน ในการวัดความดันถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ เพราะเป็นการประเมินอาการป่วยเบื้องต้นรวมถึงลำดับความสำคัญที่จะต้องให้การรักษา เช่น ถ้าหากความดันสูงเกินไปเนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูงจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้นและรูเล็กลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้น้อยลง ส่งผลให้อวัยวะเหล่านั้นทำงานไม่เป็นปกติ และหากถูกทำลายอย่างรุนแรงอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
วิธีอ่านค่าความดันโลหิต
ความดันโลหิต คือการบีบตัวของหัวใจและดันเลือดจากหัวใจไปตามเส้นเลือดแดงเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ความดันโลหิตสูง คือระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือ
เท่ากับ 140/90 มม.ปรอท
วิธีอ่านค่าความดันโลหิต
• SYS คือ ค่าความดันขณะหัวใจบีบตัวความดันโลหิตที่เหมาะสมคือ 120-129 mmHg
• DIA คือ ค่าความดันขณะหัวใจคลายตัวความดันโลหิตที่เหมาะสมคือ 80-84 mmHg
• PUL คือ ชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจโดยปกติค่าชีพจรจะอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที
ความดันปกติ มากหรือน้อย เสี่ยงความดันสูงหรือไม่นั้นผู้สูงวัยคงได้ทราบวิธีการอ่านค่าความดัน แล้วใช่มั้ยครับสังเกตค่าความดันกันครับ หากความดันโลหิตสูงปล่อยนานไปโดยไม่รับการรักษาแรงดันในหลอดเลือดที่สูงจะส่งผลกระทบหลายระบบในร่างกาย เป็นเหตุให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ และโรคไตได้ |