ความสำคัญของค่ากรด-ด่างของดิน
ค่า pH ไม่ได้บ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ แต่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแร่ธาตุในดิน ทำให้การละลายตัวของธาตุหรือสารต่างๆ ในดินออกมา บางอย่างก็มีประโยชน์ บางอย่างก็อาจเป็นพิษกับพืชได้ ซึ่งเรารู้กันอยู่แล้วว่าพืชเติบโตด้วยการดูดซึม (Osmosis) ธาตุอาหารต่างๆทางราก เพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ถ้าดินเป็นกรดแก่จัด pH ต่ำกว่า 4.5 จะทำให้มีธาตุพวก อลูมิเนียม แมงกานีส และเหล็ก ละลายออกมามากเกินไป จนเกิดเป็นพิษกับพืชที่ปลูกได้ แมงกานีส และเหล็ก ถึงจะเป็นธาตุอาหารพืชที่สำคัญ แต่พืชต้องการในปริมาณน้อยมาก ถ้ามีสะสมอยู่ในดินมากเกินไป ก็จะเกิดเป็นพิษกับพืชได้
![]()
จากตาราง ความสัมพันธ์ระหว่าง ค่า pH กับ การละลายตัวของธาตุอาหารในดิน ในช่วง pH ระหว่าง 6.0 – 7.0 หรือในสภาวะที่ดิน มีสภาพเป็นกรดอ่อน ๆ การปรับค่า pH ของดิน สิ่งแรกที่เราต้องทำคือ วัดค่า pH ในดินให้ทราบค่าที่แน่นอนเสียก่อนว่าเป็นกรดหรือด่าง
แนวทางการแก้ปัญหาดินเป็นกรด
pH ต่ำกว่า 4.5 15 ลิตร/ไร่
pH 4.5-5.5 10 ลิตร/ไร่
pH 5.6-9.5 5 ลิตร/ไร่
หากไม่ทราบค่า pH แนะนำใช้จัสเตอร์ในอัตรา 5 ลิตร/ไร (ไม่ควรผสมกับสารกำจัดวัชพืชหากมีการใช้สารกำจัดวัชพืช ควรเว้นระยะเวลา 2 สัปดาห์
![]()
แนวทางการแก้ปัญหาดินเป็นด่าง
การเลือกชนิดพันธุ์พืชที่ทนกับความเป็นด่าง
- ไม้ดอก ได้แก่ แพรเซี่ยงไฮ้ คุณนายตื่นสาย เล็บมือนาง เข็ม เขียวหมื่นปี บานบุรี เฟื่องฟ้า กุหลาบ ชบา บานไม่รู้โรย
- ผัก ได้แก่ ชะอม กระเพรา หน่อไม้ฝรั่ง ผักบุ้งจีน ผักโขม มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม ผักกาดหัว
- ผลไม้และไม้ยืนต้นอื่นๆ ได้แก่ มะพร้าว ฝรั่ง ละมุด พุทรา อินทผาลัม มะม่วงหิมพานต์ มะยม สะเดา สน ขี้เหล็ก
ใส่สารเคมีบางชนิด เช่น ธาตุกำมะถัน ในขณะที่ดินชื้น เพราะธาตุกำมะถันจะเปลี่ยนเป็นกรดซัลฟูริก มีฤทธิ์เป็นกรด จึงสามารถลดการ เป็นด่างของดินลงได้ |