คลอรีน คือ สารเคมีชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูง เป็นสารที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้งานด้านอุตสาหกรรม ด้านเกษตรกรรม หรือด้านสาธารณสุข แต่ที่หลายคนคุ้นเคยกันก็คงจะเป็นการนำไปใช้งานเพื่อเป็นสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตน้ำ-น้ำดื่ม นิยมใช้ในระบบน้ำในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ฟาร์มเลี้ยงปศุสัตว์ ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ฯลฯ
คลอรีน นิยมนำไปใช้งานกี่แบบ มีแบบไหนบ้าง
คลอรีน เป็นสารเคมีที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย อีกทั้งยังสามารถแบ่งคลอรีนได้หลายแบบ ดังนี้
1. คลอรีนรูปแบบก๊าซ
เป็นประเภทของคลอรีนที่ทำให้เกิดความระคายเคืองจมูกได้ง่าย อาจทำให้หายใจไม่ออก มักถูกนำไปใช้ในการผลิตเป็นสารฟอกขาวในการผลิตกระดาษ ผ้ากระสอบ ใช้เป็นสารป้องกันการเย็นตัว รวมถึงใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มหรือในระบบผลิตน้ำประปาด้วยเช่นกัน
2. คลอรีนรูปแบบน้ำ
เป็นคลอรีนที่อยู่ในรูปแบบของสารละลายที่ได้รับความนิยมใช้ในการฆ่าเชื้อโรค
3. คลอรีนรูปแบบของแข็ง
เป็นคลอรีนที่อาจเป็นผงหรือเม็ด ได้แก่ แคลเซียมไฮโปรคลอไรท์, โซเดียมไดคลอโร ไอโซไซยานูเรท และไตรคลอไรไอโซไซยานูริค แอซิด
คุณสมบัติของคลอรีน มีอะไรบ้าง
1.ฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับคุณสมบัติหลัก ๆ ของคลอรีนที่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดี ก็คือคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยทำให้น้ำมีความใสสะอาด อีกทั้งยังสามารถสลายตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จำเป็นต้องใช้คลอรีนในปริมาณที่เหมาะสม
2.ทำยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
นอกจากคลอรีนจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ก็ยังสามารถช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ ทำสีผสมอาหาร ยาฆ่าแมลง พลาสติก หรือเวชภัณฑ์ ได้เป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน
3.ใช้คลอรีนในทางอินทรีย์เคมี
เนื่องจากคลอรีนมีคุณสมบัติที่จำเป็นต้องใช้ในสารประกอบอินทรีย์เมื่อเข้าไปแทนที่ไฮโดรเจนนั่นเอง
4.ใช้คลอรีนในการผลิตคลอเรต
ได้แก่ คลอโรฟอร์ม คาร์บอน เตตระคลอไรด์ รวมถึงใช้ในการสกัดโบรมีน
ก็จะเห็นได้ว่า คลอรีนเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการใช้คลอรีนก็จำเป็นต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามได้อีกหนึ่งอย่างก็คือวิธีการใช้งานคลอรีนที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัย |