1. เริ่มที่ “เช็กความต้องการ” ของตลาดก่อน
ตรงนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญเลยล่ะที่ควรพิจารณา ก่อนคิดจะลงมือทำขั้นตอนต่อไป เราจะต้องลองศึกษาให้มั่นใจก่อนว่าเทรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์ในท้องตลาดภาพรวมยังมีความต้องการใช้บริการหรือซื้อผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ที่เราสนใจจะลงทุนอยู่หรือเปล่า? เราจะต้องเลือกให้แน่ใจว่าธุรกิจมีความ “ยั่งยืนและสามารถขายได้จริง” เพื่อการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ที่เราสนใจเลือกลงทุนในระยะยาว
โดยวิธีที่จะเช็กความต้องการของตลาดมีข้อควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้
2. เช็กงบดูเงินในกระเป๋าต้องใช้เงินลงทุนเท่าไหร่?
อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดประการหนึ่งในการซื้อแฟรนไชส์ คือ เงินทุนในการดำเนินงานของคุณ เงินทุนเริ่มต้นส่วนใหญ่จะตกเป็นของแฟรนไชส์ซอร์ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมสำหรับการฝึกอบรม อุปกรณ์ และสิทธิ์ในการออกใบอนุญาต ดูว่าบริษัทแฟรนไชส์จะให้บริการอะไรเพื่อแลกกับค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และประเมินเวลาที่ต้องใช้เพื่อรับค่าใช้จ่ายล่วงหน้ากลับคืนมา เพื่อพิจารณาว่าแฟรนไชส์เป็นการลงทุนที่ดีหรือไม่
ถึงแม้ว่าคุณจะมีโมเดลธุรกิจและแนวทางปฏิบัติอยู่แล้วจากเจ้าของแฟรนไชส์ แต่ก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับเส้นทางการเริ่มต้นเพราะในธุรกิจแฟรนไชส์อาจเกี่ยวข้องกับความจำเป็นในการเอาตัวรอดจากจุดคุ้มทุน และช่วงขาดทุนสุทธิก่อนที่ธุรกิจของคุณจะโฟลว์
ตรงจุดนี้ ต้องบอกเลยว่าคุณจะต้องมีรูปแบบทางการเงินที่ดีระดับหนึ่งเลยหล่ะ เพื่อหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจเดินต่อได้แบบไม่สะดุด ขอแนะนำให้คุณเข้าถึงเงินทุนที่ครอบคลุมทั้งค่าใช้จ่ายทางธุรกิจและค่าครองชีพส่วนบุคคลเป็นเวลาประมาณหกเดือน จริงอยู่ว่าแฟรนไชส์ได้ให้แผนความสำเร็จแก่คุณแล้ว แต่คุณจะทำให้สำเร็จหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับคุณแล้วที่จะทำให้แฟรนไชส์แรกของคุณนั้นไปรอด คำแนะนำคือให้คุณมีเงิน Pocket Money หรือเงินกู้สำรองเผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน
3. เช็กตัวเองว่า “คุณเป็นคนแบบไหน”
การเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ไม่ใช่สำหรับทุกคน หากคุณเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าหาญ ที่ไม่ทำตามกฎหรือทำอาหารโดยไม่มีสูตร... นี่อาจจะไม่ใช่สำหรับคุณ เราต้องขอโทษที่ต้องบอกคุณตรง ๆ แบบนี้ แต่ในโลกของแฟรนไชส์นั้นมันมีกฎที่ต้องปฏิบัติตามอยู่เสมอ ซึ่งนั้นเป็นงานของคุณที่จะทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้แฟรนไชส์ดำเนินต่อไปได้ ภายใต้การทำสิ่งนี้ตามแนวทางของผู้อื่น คุณจะเป็นผู้ดำเนินการแทน หรืออาจกล่าวได้ว่าคุณเป็นผู้ดำเนินการ แต่ไม่ใช่ผู้สร้าง หากคุณเป็นนักฉีกไม่ทำตามกฎ อย่าเพิ่งซื้อแฟรนไชส์มาลงทุนเลย มันอาจจะกลายเป็นหายนะได้!
4. ธุรกิจแฟรนไชส์คืนทุนตอนไหน?
เราทุกคนล้วนคาดหวังผลกำไรอยู่แล้วแน่นอน ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เราสามารถคำนวณได้เมื่อลงทุนในธุรกิจที่มีระบบที่ดี ซึ่งเราสามารถพูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์และรับตัวเลขทางการเงิน หรือคำนวณจุดคุ้มทุน (Break-Even Point) จากเจ้าของแฟรนไชส์เพื่อพูดคุยถึงสิ่งที่คาดหวังก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ โดยตัวเลขที่ได้มานั้นจะสามารถคำนวณระยะเวลาและรายได้ในการที่จะคืนทุนในอนาคต อย่างไรก็ตามการลงทุนในแฟรนไชส์ใหม่นั้นก็เปรียบเสมือนเป็นเกมที่ต้องคาดเดา เนื่องจากมีที่ตั้งเพียงไม่กี่แห่ง จึงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจถึงความลึกหรือขอบเขตที่แท้จริงของโอกาสทางการเงินอย่างที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ กล่าว – “ราคาคือสิ่งที่คุณจ่าย คุณค่าคือสิ่งที่คุณได้รับ”
ข้อตกลงและสัญญาการทำธุรกิจแฟรนไชส์
5. เช็กข้อจำกัดของสัญญาและค่าธรรมเนียมของแฟรนไชส์
การซื้อแฟรนไชส์ อาจมีเรื่องของความซับซ้อนทางกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในข้อตกลงด้วย ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ในด้านนี้โดยเฉพาะก่อนที่จะตกลงทำสัญญา ในส่วนของค่าธรรมเนียมผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องรับรู้และเข้าใจในข้อตกลงว่ามีค่าธรรมเนียมอะไรบ้างที่ต้องจ่าย โดยค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อจะต้องจ่ายมีดังต่อไปนี้
ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น เพื่อซื้อแฟรนไชส์ (ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเงินก้อน) ให้กับผู้ถือสิทธิ์ในการที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป
ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือเงินรายงวด เป็นสิ่งที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง
โดยการจ่ายเงินครั้งนี้ มักจะเป็นรอบรายเดือน, 2 เดือน, หรือไตรมาส เงินส่วนนี้ เหมือนเป็นการจ่ายเพื่อให้เจ้าของสิทธิ์นำไปพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คุณคงมีความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้นแล้วล่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดที่ต้องมี คือ ทัศนคติ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะรู้ว่าคุณกำลังจะทำอะไรและรู้ว่าจะเผชิญหน้ากับอะไร
แต่สิ่งที่อยากให้ได้จากบทความนี้จริง ๆ คือ อย่ารีบเร่ง!! ใช้เวลาในการวิเคราะห์ คิดตรึกตรอง หาข้อมูลศึกษาให้ลึกก่อนเริ่มต้นตัดสินใจลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ และหลังจากทำทั้งหมดนี้ จะตัดสินใจได้ถูกต้อง และจะประสบความสำเร็จในการเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ได้ในระยะยาว |