คู่มือฉบับย่อ วิธีการดูเนื้อพระสมเด็จ ให้ได้ของแท้ ไม่โดนโกง

พระสมเด็จ เป็นอีกหนึ่งพระเครื่องที่บรรดาเหล่าเซียนพระต่างพยายามเสาะแสวงหาให้ได้มาครอบครอง ด้วยความเก่าแก่ขององค์พระ และพุทธคุณอันศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อว่าทำให้ผู้สวมใส่มีความเจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง ดังนั้นแล้วการรู้จักวิธีดูเนื้อของพระสมเด็จ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม วันนี้เราขอนำเสนอคู่มือการดูเนื้อพระสมเด็จฉบับย่อ แบบเซียนพระมาเอง มาฝากผู้ที่สนใจกัน
 
การดูพระสมเด็จจะต้องดูที่พิมพ์ก่อนเป็นอันดับแรก ครั้นเมื่อเรานึกไปถึงพระเครื่องที่ขายวนเวียนอยู่ในตลาดพระเครื่อง ไม่ตำกว่า 99% ล้วนแล้วแต่เป็นพระเครื่องที่ออกมาจากโรงงาน แม้แต่เซียนรุ่นใหญ่ก็ยังถูกช่างฝีมือหลอกให้เจ็บใจมานักต่อนัก แต่ก็ไม่กล้าเปิดเผยเพราะกลัวเสียเชิง หรือแม้แต่บรรดาพระเครื่องที่อยู่ในรังของเศรษฐีผู้มีอันจะกินนั้น พวกเขาแน่ใจหรือว่า ไม่มีพระย้อนยุคปนอยู่
 
วัดระฆังที่สมเด็จโตสร้างขึ้นมานั้น มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทุกด้าน เนื่องจากเชื่อกันว่า มวลสารต่างที่มีอยู่ในองค์พระสมเด็จนั้น จะเพิ่มพุทธคุณพระสมเด็จวัดระฆังให้ขลังและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น การพิจารณาหรือการส่องนั้น ไม่ใช่ว่าส่องแล้วเห็นหมดทุกอย่าง ท่านต้องใช้เวลาและส่องแบบค่อยๆดูไป ท่านก็จะค่อยๆพบมวลสารแต่ละอย่างออกมาให้ท่านได้เห็น
 
จุดชี้ขาดของพระสมเด็จนั้นวัดกันที่มวลสาร เป็นประเด็นสำคัญเหนือกว่าพิมพ์ทรง นั่นก็คือ นอกจาดูผิวพระ ดูพิมพ์พระ ดูความเก่าของมวลสาร ดูมิติต่าง ๆ แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่เซียนพระรุ่นเก่าถือเป็นจุดชี้ขาดสำคัญอีกจุดหนึ่ง ในการพิจาณาพระสมเด็จวัดระฆัง นั่นคือ มวลสารต่าง ๆ ที่ผสมกันขึ้นเป็นพระสมเด็จสมเด็จ
 
ดังนั้น วิธีการตามล่าหาพระสมเด็จที่ประสบความสำเร็จนั้น เราควรจะดูมวลสารก่อน แล้วค่อยดูอายุหรือธรรมชาติของพระ ส่วนการดูพิมพ์นั้นควรเอาไว้ทีหลัง เพราะมีสิ่งหนึ่งที่วงการพระเครื่องยอมรับ นั่นคือ พิมพ์พระใช่ แต่มวลสารอาจจะไม่ใช่ แต่ถ้ามวลสารใช่ พิมพ์พระก็ต้องใช่ แต่จะเป็นพิมพ์ที่ท่านรู้จักหรือไม่ นั่นก็เป็นอีกเรื่อง เพราะฉะนั้น วิธีการดูมวลสารก่อนสิ่งอื่นนั้น น่าจะเป็นแนวทางที่ตรงเข้าสู่เป้าหมายได้ดีกว่าวิธีอื่น
 
 
1.1. มวลสารพระสมเด็จ พระสมเด็จแต่ละองค์ ประกอบด้วยมวลสามากมายหลายชนิด ซึ่งมวลสารต่างๆสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
- มวลสารหนัก
- มวลสารเบา และ
- ตัวประสาน
 
 
- มวลสารหนัก คือ สะสารที่มีสภาพคงที่ ได้แก่ :- ปูนเปลือกหอยดิบ - ปูนเปลือกหอยสุก- ปูนเพชร - ดินหลักเมือง ๗ หลัก- ดินสอพอง- ดินโปร่งเหลือง- ข้าวสุกตากแห้ง - ก้านธูป - ผงปูนเพชร - ทรายแก้ว และ กรวดเทา เม็ดพระธาตุ เป็นต้น
 
 
- มวลสารเบา คือมวลสารที่มีการแปลสภาพไปตามกาลเวลา ซึ่งแต่ละมวลสารมีการยุบตัวที่แตกต่างกัน จึงทำให้เนื้อพระมีหลุม มีบ่อ มีรอยแตก รอยแยก รอยร้าว ซึ่งมวลสารเบานั้นได้แก่ :- ข้าวสุก และอาหารสำรวม - มวลสารจากอาหารของท่านสมเด็จฯ เช่น กล้วยบด ฯลฯ – แป้งข้าวเหนียว – กล้วยน้ำไทย - ขี้เถ้าไส้เทียน และเทียนบูชาพระประธาน – ผงใบลานเผา – ดอกบัวสัตตบุษย์ - ดอกมะลิ และดอกกาหลง – ยอดสวาท – ยอดรักซ้อน – ราชพฤกษ์ - พลูร่วมใจ- พลูสองหาง – ผงพุทธคุณที่ทำมาจากเศษตัดขอบของพระสมเด็จ – ผงเขียนคาถาบนกระดาน - มวลสารที่เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ที่ท่านสมเด็จโต ได้เก็บรวบรวมไว้
 
- มวลสารที่เกี่ยวข้องกับการบูชาพระ เช่น ฝุ่นธูป ดอกไม้แห้ง - กระแจะหอม และ ว่านและเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด - ผงกรุเก่า เจ้าประคุณฯได้นำเอาผงหลุดร่อนออกจากผิวพระกรุเก่า และพระกรุเก่าที่หักชำรุดตามโบราณสถานเก่าแก่ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น พระซุ้มกอ พระนางกำแพงลีลา รวมไปถึงพระนางพญา เม็ดแร่หินในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง จะมีลักษณะเช่นเดียวกับแร่หินในพระดังกล่าว โดยจะนำพระกรุเก่าไปตำบดจะมีเศษโลหะ หินกรวดทราย และเม็ดพระธาตุรวมอยู่ด้วย และนำวัสดุทั้งหมดคลุกเคล้าผสมใส่ลงไปในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังเป็นต้น
 
ตัวประสาน – ยางมะตูม - น้ำผึ้ง น้ำตาลอ้อยเคี่ยว - น้ำมันตังอิ๊ว ผสมเล็กน้อย เพื่อให้เนื้อปูนนุ่มไม่ปริร้าวได้ง่ายฯลฯ
 
 
1.2. เนื้อพระสมเด็จ ส่วนเนื้อพระสมเด็จมีมากมายหลายเนื้อ เพราะมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันมากมาย ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของมวลสารจะหนักไปทางด้านใด ถึงแม้ว่าจะเป็นพิมพ์เดียวกันก็ตาม เพราะในการสร้างพระสมเด็จแต่ละครั้ง สร้างโดยคนหลายกลุ่ม และการใส่มวลสารในแต่ละครกของแต่ละกลุ่ม ไม่มีสูตรตายตัว มวลสารต่างๆจึงไม่เท่ากัน วันนี้มีมวลสารนี้อยู่มาก ก็ใส่มากหน่อย พอมาอีกวันมวลสารนี้ใกล้หมดก็ใส่น้อยหน่อย แล้วเอามวลสารอย่างอื่นที่พึ่งเก็บรวบรวมมาได้มาก ก็ใส่มากหน่อย พระสมเด็จที่สร้างแต่ละองค์ จึงมีมวลสารที่แตกต่างกัน เพราะเหตุนี้ เนื้อและสีของพระสมเด็จ ไม่ว่าจะสร้างขึ้นมาเป็นหมื่นเป็นแสนองค์ ก็จะไม่เหมือนกันเลยแม้แต่องค์เดียว
 
 
ดังนั้น พระสมเด็จแต่ละองค์จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งหมายความว่า พระสมเด็จแต่ละองค์จะเป็นพระสมเด็จที่มีอยู่องค์เดียว เช่นเดียวกับหน้าตาของคนเราย่อมไม่เหมือนกันฉันใด เนื้อของพระสมเด็จแต่ละองค์ ก็ย่อมไม่เหมือนกันฉันนั้น ซึ่งเนื้อของพระสมเด็จนั้นมีอยู่มากมายที่เราไม่อาจจะค้นคว้าหาได้หมด แต่ที่พอจะสามารถนำมากล่าวได้พอสังเขปดังนี้ :
 
- เนื้อดินเผา – เนื้อกระเบื้อง – เนื้อหินลับมีดโกน – เนื้อปูน – เนื้อปูนเพชร
– เนื้อกระแจะจันทร์ - เนื้อปูนขาว ลงรักปิดทอง ลงชาด - เนื้อน้ำมัน ยังเรียกได้อีก 2 อย่าง คือ เนื้อขนมเข่ง หรือเนื้อเทียนไชย – เนื้อแป้งข้าวเหนียว – เนื้อผงใบลานเผา - เนื้อมวลสาร (ข้าวสุก, ก้านธูป, เศษจีวร, ทองคำเปลว) – เนื้อชานหมาก – เนื้อเกสรดอกไม้ – เนื้อดินสอเหลือง – เนื้อหินลับมีดโกน – เนื้อแตกลาย - เนื้อแตกลาน หรือแตกนาแล้ง - เนื้อว่านสบู่เลือด(ว่านมหาราช) – เนื้อกระยาสารท – เนื้อกล้วยหอมจันทร์ – เนื้อมวลสาร – เนื้อปูนเปลือกหอยสุก – เนื้อปูนเปลือกหอยดิบ – และ เนื้อว่าสบู่เลือด เป็นต้น
 
 
เนื้อต่างๆดังที่กล่าวมาแล้วนั้น คือสิ่งที่ท่านเจ้าประคุณได้สร้างไว้ให้อนุชนร่นหลังๆกราบไหว้บูชา ท่านเจ้าประคุณท่านสร้างโดยไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว และไม่เคยบันทึกไว้ จึงน่าจะมีเนื้ออื่นมากกว่านี้อีก
 

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่