ฤดูกาลแห่งผลไม้เมืองร้อน กินตามกาล สุขภาพแข็งแรง

เกษตรกรรมตามวิถีนิเวศเกษตร เป็นการผลิตที่คำนึงถึงวัฎจักรของพืชพรรณแต่ละชนิด เพราะไม่ต้องพึ่งพาสารเร่ง ไม่ใช้ปัจจัยการผลิตเกินจำเป็น ได้ปริมาณการผลิตที่เหมาะสมและคุณภาพดี
 
ในขณะเดียวกัน การบริโภคที่พึงจะเป็น ก็คือการบริโภคตามฤดูกาล เพราะรสชาติที่ดีที่สุดและคุณค่าอื่นๆของผลไม้ จะมาจากช่วงเวลาการออกดอกออกผลตามวัฎจักรตามธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อใบสะสมอาหารเต็มที่ แล้วถ่ายเทไปสู่การสร้างผล เพื่อการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ
 
 
 
ฤดูกาลของไม้ผลเมืองร้อนแต่ละชนิด
 
 
มกราคม : มะขามหวาน ลำไย (ภาคตะวันออก) ส้มเขียวหวาน ส้มเกลี้ยง/ส้มเช้ง ฝรั่ง มะขามป้อม องุ่น ชมพู่ มะตูม กล้วยหอม พุทรา
 
กุมภาพันธ์ : มะขามหวาน มะปราง/มะยงชิด มะขามป้อม องุ่น ชมพู่ แตงโม กล้วยหอม ลูกตาล มะตูม มะขามเทศ ส้มโอ สับปะรด
 
มีนาคม : ขนุน มะม่วง แตงโม มะปราง/มะยงชิด มะม่วงหิมพานต์ ส้มโอ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม
 
เมษายน : ลิ้นจี่(ภาคกลาง) มะม่วง ขนุน มะไฟ ลูกหว้า มะม่วงหิมพานต์ แตงโม ชมพู่ สับปะรด กล้วยหอม
 
พฤษภาคม : ทุเรียน(ตะวันออก) ลิ้นจี่ (เหนือ) มังคุด(ตะวันออก) ขนุน จำปาดะ เงาะ(ตะวันออก) ลูกหว้า ระกำ สับปะรด
 
มิถุนายน : ทุเรียน(ตะวันออก) มังคุด (ตะวันออก) สละ/ระกำ ลิ้นจี่ (เหนือ) ชมพู่ กระท้อน สับปะรด ขนุน จำปาดะ มะละกอ เงาะ(ตะวันออก) มังคุด
 
กรกฎาคม : ทุเรียน (ภาคใต้) ลิ้นจี่(ภาคเหนือ) ลองกอง (ภาคตะวันออก) ลางสาด มังคุด(ใต้) เงาะ(ใต้) ส้มโอ มะยม แตงไทย ฝักบัว น้อยหน่า ชมพู่ ส้มเขียวหวาน จำปาดะ สับปะรด ฝรั่ง กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่
 
สิงหาคม : ทุเรียน (ภาคใต้) ลองกอง(ภาคตะวันออก-ภาคใต้) ลางสาด(อุตรดิตถ์) น้อยหน่า มังคุด(ใต้) เงาะ(ใต้) ฝรั่ง มะเฟือง ลำไย(ภาคเหนือ) ส้มโอ ชมพู่ สับปะรด ส้มเกลี้ยง/ส้มเช้ง มะยม กล้วยไข่ กล้วยหอม
 
กันยายน : ลองกอง(ภาคใต้) ลางสาด (อุตรดิตถ์) ส้มโอ มะกอกน้ำ มะยม ฝรั่ง องุ่น มะเฟือง กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม
 
ตุลาคม : ลองกอง/ลางสาด ส้มซ่า ขนุน มันแกว ฝรั่ง มะเฟือง สาเก ฝรั่ง องุ่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม
 
พฤศจิกายน : ส้มเขียวหวาน องุ่น ละมุด มะขามป้อม มะละกอ แตงโม ฝรั่ง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า
 
ธันวาคม : ส้มเขียวหวาน มะขามหวาน ลำไย(ภาคตะวันออก) พุทรา ขนุน ชมพู่ สับปะรด มะละกอ ละมุด มะขามป้อม แตงโม ฝรั่ง กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม
 
หมายเหตุ :
 
  • ฤดูกาลของผลไม้นี้มาจากช่วงเวลาการให้ผลผลิตมากที่สุดของชนิดและสายพันธุ์หลักของไม้ผลในแหล่งปลูกหลักๆเท่านั้น
  • ช่วงเวลาการให้ผลผลิตของพื้นที่การผลิตอาจแตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่ สายพันธุ์บางชนิดอาจออกผลผลิตได้หลายช่วงใน 1 ปี เช่น พันธุ์น้ำดอกไม้ โชคอนันต์ พิมเสนมันทะวาย และวิธีการจัดการผลผลิตโดยการตัดแต่งกิ่ง/ให้น้ำของพืชบางชนิด เช่น ฝรั่ง น้อยหน่า องุ่น เป็นต้น
  • ปรับปรุงเพิ่มเติมผลผลิตที่มาจากภาคที่มีการผลิตรองเพิ่มเติมในโพสต์และแผนภาพ เช่น ทุเรียนภาคใต้ ลิ้นจี่/ลำไยภาคกลาง ฯลฯ
  • ส่วนผลไม้รองและผลไม้พื้นบ้านเดี๋ยวจะแยกเป็นอีกโพสต์
  • ปรับปรุงเพิ่มเติมภาพและข้อมูล 3/10/2565

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่