MOU ย่อมาจาก memorandum of understanding หมายถึง “บันทึกความเข้าใจ” เป็นรูปแบบการจัดทำหนังสือที่แสดงความประสงค์ของบุคคลหรือนิติบุคคลสองฝ่ายหรือมากกว่านั้น ที่จะทำความร่วมมือกัน โดยเต็มใจ ที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุ มีการวางแผน ทำกิจกรรมร่วมกันในภาพกว้าง โดยไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัดใด ๆ (non-legally binding agreement) เนื่องจากไม่มีสภาพบังคับ หากไม่ปฏิบัติตาม เป็นเพียงการแสดงเจตนาที่แน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติตามเนื้อหาที่ระบุไว้ใน MOU ซึ่งปกติใช้สำหรับความตกลงที่มีขอบเขตจำกัด หรือ มิได้มีลักษณะเป็นการถาวร มักจะมีการเรียกชื่ออีกอย่างว่า “บันทึกความเข้าใจความร่วมมือ” เป็นหลักฐานยืนยัน ถึงการสนับสนุนการทำงานร่วมกัน การให้ความช่วยเหลือด้านทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคลากร ระหว่าง หน่วยงาน
![]()
ตัวอย่างเช่น
บันทึกความเข้าใจ (MOU) เรื่อง การส่งข้อมูลข่าวสารแจ้งเตือนภัยธรรมชาติผ่านบริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ร่วมมือกับบริษัทผู้ให้บริการ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ AIS, DTAC, TRUE MOVE, CAT และ TOT เป็นต้น
MOU มีผลทางกฎหมายไหม
MOU หรือ บันทึกความเข้าใจนั้น ไม่ถือว่าเป็นเป็นหนังสือสัญญาที่มีผลตามกฎหมายโดยตรง แต่จะถูกนำมาอ้างอิง เมื่อเรื่องที่สองฝ่ายที่ลงนามเกิดปัญหาจนต้องพึ่งกระบวนการทางกฎหมาย จึงจะนำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวมากล่าวอ้าง (ยกเว้นบันทึกสัญญาที่เข้าข่ายเป็นสนธิสัญญา)
วัตถุประสงค์ของการทำ MOU
เพื่อร่วมมือกัน โดยเต็มใจที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่ระบุ มีการวางแผน และทำกิจกรรมร่วมกัน ในภาพกว้าง โดยไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัดใด ๆ (non-legally binding agreement) การทำ MOU เป็นวิถีแห่งการทำงานของโลกในยุคสมัยใหม่ การประสานงานและให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านข้อมูลและทรัพยากรระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเอง รวมถึงการบูรณาการร่วมกับภาคเอกชน นอกจากจะสร้างความเป็นเลิศและความเข้มแข็งภายในองค์กรแล้ว ยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานให้แก่ระบบราชการอันจะก่อให้เกิดผลดีแก่ประชาชนและประเทศชาติ เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในฐานะเครื่องมือทางการบริหารนโยบายเพื่อยกระดับคุณภาพการทำงานและ ปรับปรุงการให้บริการสาธารณะที่ดีอย่างยั่งยืนแก่ส่วนรวมอย่างเป็นรูปธรรม |