เริ่มกันเลยกับสำรวจตัวเอง เช็คลิสต์ 5 ข้อนี้ว่าเข้าข่ายโรค Eating Disorder พฤติกรรมการกินผิดปกติหรือไม่
1.คุณเคยทำให้ตัวเองอาเจียน ใช่หรือไม่
2.คุณมีความกังวลว่าตัวเองไม่สามารถควบคุมปริมาณอาหารที่ตัวเองกินได้ ใช่หรือไม่
3.คุณน้ำหนักลดไปมากกว่า 6 กิโลกรัม ใน 3 เดือน ใช่หรือไม่
4.คุณเชื่อว่าตัวเองอ้วน ทั้ง ๆ ที่คนอื่นบอกว่าคุณผอมเกินไป ใช่หรือไม่
5.คุณคิดว่าอาหารมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของคุณมากหรือมีความหมกมุ่นจนกระทั่งวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปเพราะอาหาร ใช่หรือไม่
หากคำตอบตรงกับลิสต์ข้างต้นตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไปและหากมีอาการเหล่านี้ เช่น ไม่สามารถควบคุมปริมาณอาหารที่กินได้ หรือกินเท่าไหร่ก็อิ่ม บางทีหลังกินอาหารเสร็จแล้วมีอาการคลื่นไส้และวิ่งไปอาเจียน หรือ มีความกังวลว่าตนเองอ้วนจนออกกำลังกายอย่างหนักและมีความรู้สึกอยากผอมลงอาการเหล่านี้คือสัญญาณเตือนว่า อาจจะเข้าข่ายโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ หรือ Eating Disorder
สัญญาณของโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ
โรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ (Eating Disorders) เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะจิตใจ เช่น ในกลุ่มที่กินน้อยกว่าปกติอาจมีค่านิยมเกี่ยวกับรูปร่างที่ผอมบาง และมีการอดอาหารที่ผิดวิธี ขณะเดียวกันในกลุ่มที่กินเยอะกว่าปกติอาจมีพฤติกรรมที่กินเยอะจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จึงส่งผลให้บางคนเกิดความกังวลมาก กลายเป็นโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ โรคนี้พบได้บ่อยแต่มักจะถูกมองข้าม ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
มาทำความรู้จัก 4 กลุ่มโรค พฤติกรรมการกินผิดปกติ หรือ Eating Disorder
ทั้งนี้ การวินิจฉัยโรคโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ ไม่ได้วิเคราะห์จากการกินมาก กินน้อย หรือ น้ำหนักตัว เพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ลึกถึงความคิด ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการกิน, รูปร่าง, ระยะเวลาที่เป็น, และผลกระทบที่เกิดขึ้นหากสงสัยว่าตนเองเริ่มมีอาการที่มีลักษณะพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ ควรรีบมาพบจิตแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษา หากได้รับการรักษาเร็วก็จะมีโอกาสหายขาดได้ เพียงแค่สังเกตอาการของตัวเอง หรือ คนรอบข้าง ว่ามีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ เช่น มีความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างมากจนส่งผลให้มีพฤติกรรมการกินน้อย รวมไปถึงการอดอาหารที่ผิดวิธี, ขณะที่บางคนมีพฤติกรรมหยุดกินไม่ได้ หรือ อยากอาหารมากผิดปกติและล้วงคออาเจียน
สำหรับการรักษาโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ จะเริ่มรักษาด้วยการบำบัดความคิด และพฤติกรรมการกิน โดยจะมี นักโภชนาการที่สามารถให้คำปรึกษาการกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ได้น้ำหนักที่เหมาะสม และการใช้ยาในบางกรณี อย่างไรก็ตามครอบครัว และเพื่อน มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาสูงขึ้น
นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์
โรงพยาบาล BMHH - Bangkok Mental Health Hospital
|