ย้อนอดีต ท่าพับเป็ด ท่าถวายตัวต่อกษัตริย์อยุธยา

มาเล่าย้อนประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา ว่าด้วยเรื่องของการ ถวายตัว เข้าเป็นพระมเหสีของกษัตริย์ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ท่าพับเป็ด ธรรมเนียมโบราณของสาวสยาม ที่ต้องฝึกตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้คำกล่าวที่ว่า “เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก” ไม่เกินจริง
 
 
 
ท่าพับเป็ด คืออะไร ?
 
ท่าพับเป็น เกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สืบเนื่องจากกฎมณเฑียรบาลสำหรับหญิงสามัญชน ที่จะเข้ารับการ ถวายตัว เป็นบาทบริจาริกา หรือภรรยาที่เป็นสามัญชนของกษัตริย์ หนึ่งในนั้นคือท่วงท่าที่ต้องได้รับการฝึกตั้งแต่ยังเล็ก เรียกว่า “ท่าพับเป็ด”
 
สำหรับท่าพับเป็ด มาจากการที่กฎมณเฑียรบาล มีข้อห้ามไม่ให้เท้าของหญิงสามัญชนที่กษัตริย์กำลังทรงร่วมเพศ โดยพระวรกายเป็นอันขาด และเพื่อเป็นการตัดปัญหาจึงออกกฎมาให้หญิงทุกคนนั้นต้องเอาเท้าแนบไว้กับหลังของตนเอง คล้ายกับท่าโยคะ ในปัจจุบันนั่นเอง
 
แต่ตามกฎการถวายตัว และถวายงานของบาทบริจาริกา ตามกฎมณเฑียรบาล เมื่อท่าแรก​หรือท่าบังคับ อย่างท่าพับเป็ด ตามจารีตผ่านไปแล้ว หลังจากนั้นจะขึ้นอยู่กับ พระราชนิยมส่วนพระองค์ อ้างอิงจากหนังสือของ เผ่าทอง ทองเจือ ปี 2552
 
สำหรับการถวายตัว ถือเป็นธรรมเนียมโบราณมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คือการนำลูกสาวหรือหลานสาว ทูลเกล้าถวายตัวให้เป็นบาทบริจาริกาของกษัตริย์ เป็นไปเพื่อพยุงฐานะทางเศรษฐกิจสังคม และการเมืองของสมาชิกในตระกูลตนด้วยเช่นกัน จึงทำให้พระราชสำนักฝ่ายในคับคั่งไปด้วยสุภาพสตรีที่คอยปรนนิบัติรับใช้กษัตริย์
 
นอกจากนี้ บรรดาหญิงสาวต้องผ่านการล้างและอบร่ำอวัยวะช่วงล่างอย่างพิถีพิถัน โดยต้องอาบน้ำ ทาขมิ้น พรมน้ำอบแต่งตัวสวยงาม หลังจากนั้นต้องนั่งบนกระโถนสักพักใหญ่ ซึ่งในกระโถนนั้นจะมีของหอมกลิ่นแรงใส่ไว้ เพื่อรมให้อวัยวะสืบพันธุ์และช่องคลอดนั้นหอม โบราณเรียกการเตรียมตัวนี้ว่า อบเต่า จากนั้นจึงถือว่าพร้อม เพราะหอมทั้งนอกและใน
 
พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานมีพระแท่นบรรทม​ ลักษณะ 4 เสา โครงหลังคาทำด้วยไม้ฉลุ มีที่พำนัก 3 ด้าน แต่ขึ้นลงได้ด้านเดียว ตามอิทธิพลที่ได้รับมาจากราชสำนักจีน ด้านหน้าพระแท่นบรรทม​ มีเตียงขาคู้ขนาดใหญ่ เรียกว่า “พระแท่นลด” สูงประมาณ 1 ศอก ลดต่ำลงจากพระแท่นบรรทม
 
ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวสยาม​รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากขึ้น สังเกตจากหัวเตียงปลายเตียง สามารถขึ้นลงได้ 2 ทาง อิงจากห้องบรรทมในพระที่นั่งอัมพรสถาน และทั้งสองด้าน พบ “พระแท่นลด” นำไปสู่ข้อถกเถียงถึงการถวายตัว ของบาทจาริกาในพระองค์​ อาจมีจำนวนมากกว่า 1 คน
 
ที่มา :thethaiger.com

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่