ภาวะพร่องแอนโดรเจนในชายสูงวัย หรือภาวะวัยทอง จะเกิดกับผู้ชายอายุ 40-65 ปี ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและการลดลงของฮอร์โมน การลดลงนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ แม้ว่าหลายคนจะทราบถึงภาวะนี้ดี แต่เชื่อง่ายังไม่มีใครทราบว่าผู้ชายก็เข้าสู่ช่วงวัยเดียวกันนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นลองมาดูโรคฮิตที่มาพร้อมกับภาวะวัยทองในผู้ชายสูงวัยว่ามีอะไรบ้าง
1.โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด
ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เมื่อมีระดับต่ำมาก จะส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และไตรกลีเซอไรด์เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดการสะสม และกลายเป็นการอุดตันของหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแข็งตัวและความยืดหยุ่นน้อยลง จึงเข้าไปขัดขวางการไหลเวียนของหลอดเลือดหัวใจและสมองอย่างน่ากลัว
2.โรคเกี่ยวกับทางเพศ
ความสามารถและความต้องการทางเพศที่ลดลง หรือแม้แต่การไม่มีความรู้สึกทางเพศ อาจเกิดขึ้นได้ในบางคน เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายที่ลดลงมากอละรวดเร็ว จากที่มีหน้าที่กระตุ้นความต้องการทางเพศ ก็จะกลายเป็นบุคคลที่อาจไม่รู้สึกอยากมีเพศสัมพันธ์อีกเลย และอวัยวะสืบพันธุ์อาจไม่แข็งตัวอีกด้วย
3.โรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท
สังเกตได้ว่าความสามารถของสมองและระบบประสาทลดลง เกิดร่วมกับอาการแทรกซ้อน เช่น ความจำบกพร่อง อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย หงุดหงิดใจ และนอนหลับยาก เป็นต้น รวมไปถึงมีอาการเหนื่อยล้า สลับระหว่างรู้สึกร้อนและหนาว เหงื่อออกมากเกินไป นอนหลับยาก ความอยากอาหารลดลง ปวดเมื่อยตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่มีพลังงาน และกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่ทราบสาเหตุ
4.โรคกล้ามเนื้อ
การขาดฮอร์โมนเพศชาย อาจทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนในผู้ชายได้ ภาวะนี้คล้ายกับโรคที่ผู้หญิงประสบในช่วงวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้มวลกล้ามเนื้อจะค่อย ๆ ลดลงมากขึ้น ส่งผลให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแทบไม่เหลืออยู่
5.โรคเกี่ยวกับอารมณ์และจิตใจ
เกิดความรู้สึกเบื่อและขาดแรงบันดาลใจ ประสบกับความซึมเศร้า ความเหงา ความเครียด และหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย เซื่องซึม และบ่นมากขึ้น ผิดหวังง่ายกว่าเดิมและชอบอยู่คนเดียว มีปัญหาในการนอนหลับ และตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ทั้งยังมีปัญหาในการมีสมาธิในการทำงานและความจำลดลง กลายเป็นความจำระยะสั้น ซึ่งทั้งหมดนี้มาจากภาวะวัยทองที่ส่งผลกระทบกับอารมณ์และจิตใจอย่างมาก
มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้เกิดอาการวัยทองอย่างรวดเร็ว เช่น ความบกพร่องทางพันธุกรรม ความเครียดที่มากเกินไป จึงทำให้เกิดการพักผ่อนไม่เพียงพอ มีแนวโน้มของการเป็นโรคอ้วน การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคตับ และไตวาย จะเป็นปัจจัยเร่งให้ภาวะวัยทองมาเร็วหลายเท่าตัว |