ไผ่ 7 ชนิดที่ควรปลูกในประเทศไทย

ต้นไผ่ (Bamboo) เป็นไม้พุ่มชนิดหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี จัดอยู่ในวงศ์ Poaceae มีลักษณะเป็นไม้ไม่ผลัดใบ ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้อง มีความคงทนต่อสภาพอากาศที่แตกต่างกันและเจริญเติบโตได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก ไม้ไผ่จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ กระดาษ เครื่องดนตรี ที่อยู่อาศัย เป็นต้น ทำให้ต้นไผ่มีอิทธิพลต่องานศิลปะและวัฒนธรรมของมนุษย์หลายแห่ง โดยเฉพาะในวัฒนธรรมจีน
 
 
1. ไผ่ซางหม่น 
 
 
มีอีกชื่อว่าไผ่ซางนวลราชินี. นับได้ว่าเป็นไผ่ที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายและมากที่สุดในประเทศไทยของบ้านเราเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการต่างๆ ที่ปลูกทดแทนป่า กันหน้าดิน และสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ ไผ่ซางหม่น" ลำใหญ่หนาหน่ออร่อย ไม่มีคายและไม่มีหนาม เหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรมต่างๆและสำหรับทำไม้ตะเกียบโดย ที่เป็นไผ่เนื้อแข็ง เนื้อหนา มีความทนทาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ความต้องการของตลาดจึงมากตามไปด้วย ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ อาทิ เตียง เก้าอี้ โซฟา โต๊ะ ตะเกียบ ไม้ปาร์เก้
 
2. กลุ่มไผ่ยัก. เช่น หกยักษ์ ตงหม้อ 
 
เป็นไผ่ใช้ลำขนาดใหญ่ ขนาดลำไม้โตเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 นิ้ว ยาว 25-35 เมตร น้ำหนักต่อลำ 150-250 กิโลกรัม เนื้อไม้ตรงยาวเรียว
สีน้ำตาลออกเขียวๆ เนื้อไม้หนามาก หนาที่สุดในบรรดาไผ่ ในประเทศไทยทุกสายพันธุ์ คือ หนาข้างละ 3 นิ้ว ที่โคนต้น แล้วยาวไปสุดปลายลำ แม้กลางลำที่ 15 เมตร ก็ยังหนามากอยู่ หนากว่าไผ่ซางหม่น มีขนาดใหญ่กว่าไผ่ซางหม่นที่ว่าลำหนาแล้ว ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากโดยเฉพาะทำศาลาไม้ไผ่สำเร็จรูป
บ้านน็อกดาว ทำเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ตู้ เตียง หนาเหมือนไม้จริง ลำไม้ไม่แตกเมื่อทิ้งให้แห้งไปแล้วจึงใช้ทำแพได้ดี คงทนที่สุด ใช้ทำไม้ซี่, ทำพื้นปาร์เก้ ทำฝาบ้าน ทำเสารีสอร์ทเพิ่มมูลค่าได้มาก หน่อมีขนาดใหญ่มาก ใช้บริโภคได้ทำอาหารได้ทุกชนิด
 
3. ไผ่ข้าวหลาม
 
นับได้ว่าเป็นอีกตัวที่มากความต้องการอยู่ทุกๆวัน ในการนำไปทำกระบอกข้าวหลาม ไผ่ข้าวหลาม เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นลักษณะตรง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-8 ซม. เนื้อลำบางหนาไม่ถึง 5 มม. ปล้องยาวประมาณ 20-45 ซม. สูงประมาณ 7-30 ซม. มีสีเขียวปนเทา กาบมีสีหมากสุก กาบหุ้มลำหลุดร่วงง่าย มีการแตกกิ่งขนาดเท่า ๆ กันรอบข้อใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทางด้านเนื้อไม้ ลำอายุประมาณ 6-10 เดือนใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เพราะมีเนื้อเหยื่อที่เหมาะกับการทำข้าวหลาม การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์ ลำแก่ใช้ในการสร้างบ้านเรือน โดยมากใช้ทำกลอนหลังคา สานเป็นฝาหรือเพดาน เป็นเสื่อแทนพรมปูบ้าน
 
4. กลุ่มไผ่เลี้ยง ไผ่สร้างไพร
 
จะมีกอใหญ่แต่ดูโปร่งไม่รก กิ่งแขนงด้านล่างไม่มี ลำไม้ไผ่สวย ขนาดสูงยาว ประโยชน์ของไผ่สร้างไพร เราสามารถนำไม้มาใช้ทำบรรได โรงเรือน นั่งร้าน รั้วบ้านรั้วสวน หรือคอกสัตว์ต่างๆได้เป็นอย่างดี  การปลูกไผ่เพื่อขายลำไม้ ถ้าจะทำจริงจังต้องปลูกจำนวนมากเพื่อให้รถขนส่งที่มารับสามารถบรรทุกได้เต็ม แต่ถ้าเราปลูกเพื่อใช้ในพื้นที่ตัดแบ่งขายกันใกล้เคียงได้ก็จะดีมากครับ
 
5. ไผ่รวก 
 
ลำไผ่ ไม่ค่อยมีกิ่งแขนง ลำเรียวตรง ลำต้น ทนทานแข็งแรง เนื้อหนา ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เป็นที่ต้องการของตลาด 
 
 
6. ไผ่บ่งหวาน
 
ด้วยลักษณะเด่นอยู่ที่หน่อไผ่มีรสชาติไม่ขมสามารรถกินเป็นหน่อไม้ดิบเหมือนผักสดและไม่ขมติดลิ้นเหมือนหน่อไม้ไผ่พันธุ์อื่นๆ นำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย อาทิ ต้มจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมันหอย ชุบแป้งทอดและต้มจืดกระดูกหมูเป็นต้น คุณลำพึงยังได้บอกถึงเทคนิคในการบริโภคไผ่บงหวานให้ได้รสชาติอร่อยจะต้องต้มน้ำให้เดือดแล้วค่อยใส่ไผ่บงหวานลงไปในน้ำเดือดนาน 5-7 นาทีเท่านั้น นำมารับประทานได้เลยโดยไม่ต้องต้มน้ำทิ้ง
 
7. ไผ่กิมซุง
 
ไผ่ตงลืมแล้งหรือไผ่กิมซุงมีลักษณะที่โดดเด่นกว่าไผ่ชนิดอื่นตรงที่ ออกหน่อได้แม้ในหน้าแล้งหรือในช่วงที่ไผ่อื่นไม่มีหน่อ(ทำหน่อไผ่นอกฤดู)ทั้งยังออกหน่อดก ให้ผลผลิตเร็ว(ประมาณ7 เดือน)รสชาติไม่ขม สามารถทนน้ำท่วมขังได้นานถึง 3 เดือน ปลูกได้โดยไม่ยืนต้นตาย แต่เมื่อปลูกไปนานๆ มักจะประสบกับปัญหาโคนกอลอย หากไม่มีการคลุมกอด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้งให้ดีก็อาจเสี่ยงต่อการโค่นล้มได้ง่าย

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่