แหนแดง มหัศจรรย์โรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนธรรมชาติ

แหนแดง เป็นพืชตระกูลเฟิร์นชนิดลอยน้ำ อาศัยอยู่บนผิวน้ำในเขตอบอุ่นและเขตร้อน มีทั้งหมด 7 ชนิดทั่วโลก ในประเทศไทยพบเพียงหนึ่งชนิด คือ อะซอลล่า พินนาต้า (Azolla pinnata) พบในแหล่งน้ำนิ่ง เช่น บ่อน้ำ บึง พื้นที่ชุ่มน้ำ หรือแอ่งที่มีน้ำท่วมขังตลอดปี ต้นเล็กของแหนแดงมีสีเขียวคล้ายกับแหนเป็ด เมื่อโตเต็มที่หรือแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำหรือสีน้ำตาล แหนแดงเป็นพืชที่มีไนโตรเจนสูงมาก เพราะในโพรงใบของแหนแดงมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอาศัยอยู่ ซึ่งสาหร่ายชนิดนี้สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศได้
 
 
ธาตุไนโตรเจนเป็นหนึ่งในอาหารหลักของพืชที่ใช้ในการเจริญเติบโต แหนแดงมีไนโตรเจนสูงถึง 4-5% มากกว่าพืชตระกูลถั่วที่มีไนโตรเจนเพียง 2.5-3% เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ กรมวิชาการเกษตร จึงได้มีการนำพันธุ์จากต่างประเทศมาปรับปรุง จนได้สายพันธุ์ อะซอลล่า ไมโครฟิลล่า (Azolla Microphylla) ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองถึง 10 เท่า
 
ธาตุอาหารในแหนแดง
 
ไนโตรเจน : 24.0-30.0%
ฟอสฟอรัส : 4.5-5.0%
แคลเซียม : 0.4-1.0%
โพแทสเซียม : 2.0-4.5%
แมงกานีส : 0.5-0.6%
แมกนีเซียม : 0.11-0.16%
เหล็ก : 0.06-0.26%
 
ประโยชน์ของแหนแดง
 
 
 
 
1. การเกษตร
 
แหนแดง มีประวัติการใช้เป็น ปุ๋ยพืชสด ในนาข้าวประเทศสังคมนิยมเวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนจีนมานานหลายศตวรรษ แสดงให้เห็นว่าแหนแดงมีประโยชน์ต่อนาข้าวจริง สอดคล้องกับผลการวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ พบว่า
 
 
การเลี้ยงแหนแดง แล้วไถกลบก่อนปักดำ เพิ่มผลผลิตข้าวเทียบเท่ากับการใส่ปุ๋ยยูเรีย 4.8 กก./ไร่
การเลี้ยงขยายแหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว 1 ชุด หรือ 2 ชุด ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวได้เท่ากับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 6-12 กก./ไร่
สำหรับการเพาะกล้า เมื่อใส่แหนแดงลงไปในแปลงกล้า 1-2 วัน ช่วย ลดระยะกล้าจาก 40 วัน เหลือเพียง 30 วัน เท่านั้น
ช่วงที่หนึ่ง: หว่านก่อนตีเทือก ประมาณ 20 วัน แล้วไถกลบ (เมื่อย่อยสลายแล้วจะปล่อยไนโตรเจนออกมา)
 
ช่วงที่สอง: หว่านหลังดำนา (ช่วยบดบังแสงแดด ป้องกันวัชพืช)
 
เนื้อเยื่อพืช 
 
กรมวิชาการเกษตร ทดลองใช้แหนแดงผสมกับวัสดุปลูก เนื้อเยื่อกล้วยน้ำว้าสายพันธุ์ปากช่อง พบว่าช่วยลดต้นทุนและเวลาได้ โดย ลดระยะกล้าจาก 60 วัน เหลือเพียง 45 วัน และเมื่อเมื่อนำกล้าลงแปลงปลูก เจริญเติบโตเร็วกว่า ต้นกล้าที่ไม่ได้ใส่แหนแดง
 
หากมีแหนแดงปริมาณมาก ให้เก็บมากองรวมกัน เพื่อทำปุ๋ยหมัก สำหรับใช้ในแปลงพืชผักหรือสวนผลไม้ ช่วยให้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น หรือไม่ก็ทำเป็น แหนแดงแห้ง โดยการเก็บรวบรวมแหนแดงมาตากแดดไว้ ประมาณ 2 วัน แล้วเก็บใส่กระสอบรวมไว้สำหรับใช้ “ปลูกพืช”
 
อัตราส่วนที่ใช้: แหนแดงแห้ง ประมาณ 20 ก. ต่อดินวัสดุเพาะ 1 กก. *เมื่อเทียบกับปุ๋ยยูเรีย แหนแดงแห้ง 6 กก. เท่ากับ ปุ๋ยยูเรีย ประมาณ 10-12 กก. (เพียงพอสำหรับปลูกพืช)
 
 
2. อาหารสัตว์
 
แหนแดงมีโปรตีน ไขมัน เซลลูโลส และแร่ธาตุจำนวนมาก เหมาะที่จะใช้เป็นอาหารสัตว์ มีกรดอะมิโนที่จำเป็นเพียงพอต่อการเจริญเติบโต จึงเหมาะสมที่จะใช้เลี้ยง “ปลา” โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาในนาข้าวที่มีแหนแดงอยู่ด้วย ทำให้น้ำหนักและขนาดของปลาเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ยังนิยมนำมาเลี้ยง “เป็ด” เหมือนกับแหนเป็ดชนิดอื่นๆ หรือปล่อยเลี้ยงในบ่อน้ำเพื่อปล่อยให้เป็ดลงกินตามธรรมชาติ ทำให้เกษตรลดต้นทุนด้านอาหารเลี้ยงเป็ดได้ รวมถึงสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เช่น  “ไก่” และ “หมู”
 
3.บำบัดน้ำเสีย
 
แหนแดงเป็นพืชลอยน้ำ ช่วยบำบัดน้ำเสีย ลดความสกปรกของน้ำ จากผลวิจัย การบําบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรโดยใช้แหนแดง พบว่า การใช้แหนแดงในการบําบัดน้ำเสียมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำเสียแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งผลการใช้แหนแดงในการบําบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกร สามารถลดค่าความสกปรกในรูป BOD , TKN, NO, และ PO ได้ ประมาณ 6-98 % ในช่วงเวลา 3 สัปดาห์ 4
 
4. ประกอบอาหาร
 
แหนแดงอ่อน หรือ แหนแดงที่ยังเป็นสีเขียวอยู่ สามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น ลวกจิ้มน้ำพริก ผัดใส่หมู/เนื้อ แกงเลียง แกงอ่อม *ควรทำให้สุกทุกครั้ง เพราะอาจมีพยาธิหรือไข่พยาธิติดมาด้วย
 
 
วิธีเลี้ยง แหนแดง พืชน้ำแหล่งไนโตรเจน
 
• วิธีเลี้ยง แหนแดง พืชน้ำแหล่งไนโตรเจน
การเลี้ยงแหนแดง ตามแบบฉบับของ  กรมวิชาการเกษตร ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
 
วิธีที่ 1 บ่อคอนกรีต
 
  • เตรียมบ่อน้ำ
  • ใส่ดินนา ให้สูงประมาณ 10 ซม.
  • เติมปุ๋ยคอก 1 กก.
  • เติมน้ำให้สูงจากระดับดิน  10 ซม.
  • ใส่แหนแดงลงในบ่อแม่พันธุ์ 50 กรัม
  • เมื่อแหนแดงเจริญเติบโตเต็มบ่อ ให้ปล่อยน้ำออก หรือนำไปขยายต่อในที่ต้องการ
วิธีที่ 2 ขุดบ่อเอง
 
เตรียมบ่อเลี้ยงแหนแดง ขุดบ่อให้มีลักษณะเหมือนท้องนาที่มีน้ำขัง ลึกประมาณ 4-5 เซนติเมตร หรือ “บ่อน้ำตื้น” ในพื้นที่ที่มีร่มรำไร หรืออาจจะใช้ “สแลน” ช่วยในการพลางแสง
ปล่อยแหนแดงลงไป ประมาณ 10 กิโลกรัม (พื้นที่บ่อ 5 ตารางเมตร)รอแม่พันธุ์แหนแดงจะเจริญเติบโตเต็มบ่อ ใช้เวลาประมาณ 10-15 วัน  แนะนำให้ปล่อยแหนแดงลงบ่อก่อนฤดูฝน ถ้าปล่อยลงบ่อในหน้าแล้ง ความชื้นในอากาศน้อย อาจจะใช้เวลานานถึง 3 สัปดาห์ แหนแดงจึงจะเต็มบ่อ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับแหนแดง
 
ระดับน้ำ ลึก 5 – 10 เซนติเมตร
อุณหภูมิ 20–30 องศาเซลเซียส
แสง ได้รับแสงประมาณ 50%–70%
ค่า PH ที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 4.0–5.5
 
ดร. ศิริลักษณ์ กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ถ้าเกษตรกรมีแม่พันธุ์ 10 กก. ก็จะเพียงพอสำหรับนา 1 ไร่ หลังจากนำไปปล่อยในนา ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะขยายแหนแดงได้ถึง 3,000 กก./ไร่ ถ้าหว่านแหนแดงลงไปในปริมาณมากจะขยายพันธุ์ได้เร็ว เพราะระบบขยายพันธุ์ของแหนแดงขยายให้น้ำหนักสดเป็น 2 เท่าตัว ทุก 3-5 วัน
 

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่