หลักการตั้งชื่อพายุ

โดยหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อพายุ เดิมทีประเทศสหรัฐฯ จะเป็นผู้ตั้งชื่อพายุของทั่วโลกมาโดยตลอด เพราะเป็นประเทศเดียวที่มีความเพียบพร้อมทางเทคโนโลยีทางดาวเทียมตรวจสภาพ อากาศ ดูความเคลื่อนไหวของพายุ
 
 
การตั้งชื่อพายุสมัยก่อนนั้นจะใช้ชื่อผู้หญิงในการตั้ง เพราะฟังแล้วจะดูอ่อนโยนอ่อนหวาน ทำให้ดูรุนแรงน้อยลง ในกรณีที่ผู้ตั้งชื่อเป็นนักเดินเรือ ก็จะตั้งชื่อพายุเพื่อคลายความคิดถึง ถึงคนที่เป็นที่รัก แต่ภายหลังก็มีนักสิทธิสตรีในสหรัฐฯ ออกมาประท้วงว่าการตั้งชื่อพายุทำให้ภาพลักษณ์ของผู้หญิงโหดร้าย ภายหลังจึงมีการตั้งชื่อผู้ชายด้วย กระทั่งปี ค.ศ.2000 ได้มีการเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ จากทุกโซนของโลกเสนอชื่อพายุได้ประเทศละ 10 ชื่อ โดยกำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในแต่ละประเทศในการตั้งชื่อพายุ
 
 
เกณฑ์การตั้งชื่อ 
 
1. เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 น็อต หรือ 63 กม./ชม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ
 
2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ที่คอลัมน์ที่หนึ่งตัวบนสุดก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุด ใกล้จุดศูนย์กลาง ตามที่กำหนด ในข้อ 1. เป็นตัวแรกของปี พายุนั้นจะมีชื่อว่า "Damrey (ดอมเรย์)"
 
3. เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมา ในคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุตัวที่สองจะมีชื่อว่า "Longwang (หลงหวาง)"
 
4. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Trami (ทรามี)" จะใช้ชื่อ "Kongrey (กองเรย์)"
 
5. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Saola (เซลลา)" จะใช้ชื่อ "Damrey (ดอมเรย์)"
 
 
ในส่วนของประเทศไทย ตั้งอยู่ในโซนมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนบน และทะเลจีนใต้ ร่วมกับสมาชิกประเทศอื่นๆ ได้แก่กัมพูชา, จีน, เกาหลีเหนือ-ใต้, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, ลาว, มาเก๊า, มาเลเซีย ไมโครนีเซีย (รัฐอิสระอยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือหมู่เกาะอินโดนีเซีย) ฟิลิปปินส์, สหรัฐฯ และเวียดนาม
 
ทั้งนี้ชื่อพายุจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ ชื่อพายุแต่ละชื่อ จะเรียงตามชื่อประเทศของลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง
 
ด้วยเหตุนี้ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง คณะกรรมการพิจารณารายชื่อ และความหมายของชื่อขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเสนอชื่อพายุใน ภาษาไทยที่ที่ประชุมของ ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นร่วม หรือ เจทีดับบลิวซี (Joint Typhoon Warning Center (JTWC)) ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะกวม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก โดยมีสมาชิกอีก 14 ประเทศในโซนเดียวกันมาร่วมประชุม จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ, ทุเรียน, วิภา, รามสูร, เมขลา, มรกต, นิดา, ชบา, กุหลาบ และขนุน

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่