เลือกฟิล์มรถอย่างไรให้ตรงตามความต้องการ

แดดเมืองไทยเห็นแล้วก็อยากจะอยู่แต่ในห้องแอร์ ในเมื่อชีวิตคือการเดินทาง เราจึงต้องเลือก ‘ฟิล์มติดรถยนต์’ หรือ ‘ฟิล์มกรองแสง’ ที่ช่วยกันแดด กันร้อน กันยูวี กันสะเก็ดหิน และช่วยให้รถเย็นสบายมากขึ้น ส่วนจะมีฟิล์มติดรถยนต์กี่แบบให้เลือก

1. ‘ฟิล์มติดรถยนต์’ คืออะไร

 
ฟิล์มติดรถยนต์ผลิตจาก ‘พลาสติกโพลีเอสเตอร์’ ที่มีคุณสมบัติเหนียว บาง เรียบ ใส กลมกลืนกับกระจก มีความยืดหยุ่นน้อย ไม่ดูดซับความชื้น และทนต่อสภาพอากาศได้อย่างดี โดยฟิล์มกรองแสงจะมีส่วนประกอบของวัสดุเคลือบต่างๆ เพื่อช่วยป้องกันความร้อนและรังสียูวีในแสงแดด ทำหน้าที่เคลือบเป็นชั้นๆ แล้วผสานกันด้วยกาวชนิดพิเศษที่มีสีใส เพื่อเพิ่มการยึดเกาะกับกระจกรถให้เหนียวแน่นและทำให้มองทะลุผ่านได้อย่างชัดเจนและสบายตา
 
2. ความเข้มของฟิล์มติดรถยนต์
 
ฟิล์มรถยนต์มีความเข้มให้เลือกหลายระดับ บ่งบอกถึงปริมาณของแสงแดดที่จะส่องเข้ามาภายในห้องโดยสาร แบ่งออกเป็นเปอร์เซ็นต์ ได้แก่
 
  • ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ 40% คือฟิล์มติดรถยนต์ที่แสงสามารถส่องผ่านได้มาก ตัวฟิล์มจะมีความใส ไม่ทึบจนเกินไป มองเห็นได้ชัดเจนทั้งกลางวันและกลางคืน
  • ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ 60% คือฟิล์มติดรถยนต์ความเข้มปานกลาง ให้ความเป็นส่วนตัวมากขึ้น และยังพอได้ชัดในเวลากลางคืน
  • ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ 80% คือฟิล์มติดรถยนต์ความเข้มสูง แสงส่องผ่านได้น้อย ให้ความเป็นส่วนตัว โดยส่วนใหญ่นิยมติดที่กระจกประตูทั้ง 4 บาน แต่ไม่นิยมติดที่กระจกหน้าและหลัง เนื่องจากความเข้มสูงทำให้การมองเห็นไม่ดีในเวลากลางคืน
Note: เทคนิกเลือกความเข้มของฟิล์มกรองแสงรถยนต์ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์คือ ติดฟิล์มแบบ 40:60 เป็นการติดฟิล์มที่กระจกบานหน้าและหลัง 40% รอบคัน 60% เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบทัศนวิสัยการมองเห็นที่เคลียร์ชัด หรือขับรถในเวลากลางคืนเป็นประจำ และติดฟิล์มแบบ 60:80 เป็นการติดฟิล์มที่กระจกบานหน้าและหลัง 60% รอบคัน 80% เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว หรือขับรถในช่วงเวลากลางวันเป็นหลัก
 
3. ประเภทของฟิล์มติดรถยนต์
 
ปัจจุบันมีฟิล์มติดรถยนต์ให้เลือกมากมายหลายแบบและหลายยี่ห้อ ซึ่งแต่ละแบรนด์ต่างก็มีคุณสมบัติเด่นและราคาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเกรดของฟิล์ม วัสดุ และขนาดของตัวรถ โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก ได้แก่
 
  • ฟิล์มติดรถยนต์ทั่วไป (Dyed Window Tints)
ฟิล์มติดรถยนต์แบบนี้สามารถป้องกันรังสียูวีได้ดีในระดับหนึ่ง มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนแสงจากภายนอกและลดปริมาณความร้อนสะสมได้เล็กน้อย อายุการใช้งานไม่ยาวนานเท่าไหร่ และมีราคาประหยัดกว่าฟิล์มติดรถยนต์แบบอื่นๆ
 
  • ฟิล์มติดรถยนต์แบบปรอท (Metallized Window Tints)
ฟิล์มติดรถยนต์ที่มีลักษณะเงา วาว ป้องกันรังสี UV และสะท้อนความร้อนได้ดี ตัวฟิล์มถูกย้อมด้วยสีที่มีส่วนผสมของโลหะที่จะฝังอยู่ในชั้นของฟิล์ม ช่วยป้องกันรอยขีดข่วนได้ แต่ฟิล์มชนิดนี้อาจทำให้อุปกรณ์ GPS หรือ Easy Pass ใช้งานได้ไม่สะดวกเท่าที่ควร
 
  • ฟิล์มติดรถยนต์แบบไฮบริด (Hybrid Window Tints)
ฟิล์มติดรถยนต์ที่ผสมผสานระหว่างฟิล์มย้อมสีและฟิล์มที่มีส่วนผสมของโลหะในชั้นฟิล์ม มีคุณสมบัติกรองแสงได้ดี สีไม่ซีด และสามารถป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี มีราคาค่อนข้างสูง
  • ฟิล์มติดรถยนต์แบบคาร์บอน (Carbon Window Tints)
ฟิล์มติดรถยนต์ที่มีพื้นผิวด้าน ภายในเนื้อฟิล์มมีส่วนผสมของอนุภาคคาร์บอนสะท้อนแสงพิเศษ ให้คุณสมบัติสะท้อนความร้อนได้ดี มีความทนทานสูง สามารถกักเก็บความร้อนได้ดี
  • ฟิล์มติดรถยนต์แบบเซรามิก (Ceramic Window Tints)
ฟิล์มติดรถยนต์ที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน มีคุณสมบัติป้องกันแสงแดด ความร้อน และรังสียูวีได้ดี สามารถลดความร้อนได้สูงถึง 99% แล้วยังมีความแข็งแรง ทนทาน ราคาค่อนข้างสูงกว่าฟิล์มชนิดอื่นๆ
 
4. ติดฟิล์มกรองแสงสีเข้มเกินไป ผิดกฎหมายหรือไม่
 
ประเทศไทยได้ยกเลิกใช้กฎหมายการติดฟิล์มกรองแสงเข้มหรือทึบเกินไป ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เว้นแต่การห้ามติดฟิล์มรถยนต์แบบปรอท แม้ตัวฟิล์มจะมีคุณสมบัติสะท้อนแสงได้ดี แต่ด้วยความที่มีลักษณะเป็นสีเงิน เพราะการเคลือบปรอททำให้เหมือนกระจกเงาสะท้อนแสง ทำให้เกิดแสงแยงตาส่งผลกระทบ หรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้รถยนต์คันอื่นบนท้องถนน
 
การติดฟิล์มแบบปรอทเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎในกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกแล้ว

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่