สาเหตุที่ทำให้รถไฟไหม้ ได้แก่
1. ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงรั่วไหล คำว่าน้ำมันเชื้อเพลิงก็บอกอยู่แล้วว่าเกี่ยวข้องกับการเผาไหม้ ดังนั้นเมื่อมีการรั่วไหลเกิดขึ้น หากมีประกายไฟเพียงแค่ครั้งเดียว ก็เป็นสาเหตุให้รถไฟไหม้ทั้งคันได้
2. ระบบไฟฟ้าลัดวงจร ระบบไฟฟ้าถูกเดินไปทั่วรถ หากเชื่อมต่อไว้ไม่ดี ก็อาจเป็นสาเหตุของไฟไหม้ได้
3. อุณหภูมิเครื่องยนต์สูง จริงๆ แล้วตัวเครื่องยนต์เองไม่ได้ทำให้เกิดไฟไหม้ แต่เครื่องยนต์ที่อุณหภูมิสูง จะทำให้ของเหลวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน หรือ น้ำยาหล่อเย็น มีอุณหภูมิสูงขึ้น หากของเหลวเหล่านี้รั่วออกมา ก็อาจจะกระจายไปทั่วห้องเครื่อง และทำให้เกิดไฟไหม้ได้
4. อุณหภูมิที่เครื่องฟอกไอเสีย (หรือที่เรียกกันว่า “แคต”) สูงกว่าปกติ เครื่องฟอกไอเสียเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนที่มีอุณภูมิสูงอยู่แล้ว หากเครื่องฟอกไอเสียต้องทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดความร้อนสูงกว่าปกติ ทำให้ชิ้นส่วนอื่นๆ เสียหายตามไปด้วย และอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะรถยนต์ที่ติดแก๊ส เนื่องจากความร้อนจากห้องเผาไหม้มีอุณหภูมิที่สูงกว่าแคตจะรับได้ ซึ่งจะทำให้แคตละลาย และแตกได้
5. แบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ไฮบริด ถึงแม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์ไฮบริดจะค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็มีกรณีไฟไหม้ให้เห็นอยู่บ้าง ซึ่งอาจเกิดจากน้ำยาหล่อเย็นที่รั่วมาจากหม้อน้ำทำปฏิกิริยากับแบตเตอรี่ที่ชำรุดเสียหาย และทำให้เกิดประกายไฟได้
6. การปรับแต่งที่ไม่ได้มาตรฐาน
7. ขาดการซ่อมบำรุงรักษา หรือปล่อยส่วนที่เสียหายทิ้งไว้เป็นเวลานาน จนทำให้ส่วนอื่นๆ เสียหายตามไปด้วย
8. อุบัติเหตุ ถึงแม้ว่ารถยนต์รุ่นใหม่ๆ ได้รับการออกแบบให้ปกป้องเครื่องยนต์ แบตเตอรี่ และถังเชื้อเพลิง เป็นพิเศษ แต่อุบัติเหตุร้ายแรง เช่นการชนกับรถใหญ่ๆ ก็อาจทำให้ของเหลวไวไฟต่างๆ ในรถ รั่วไหลออกมา แล้วทำให้เกิดไฟไหม้ได้
ถ้าเกิดเหตุรถยนต์ไฟไหม้ ควรจะต้องทำอย่างไร
1. กรณีที่คิดว่ารถยนต์เกิดไฟไหม้ ให้พยายามจอดรถเข้าข้างทาง หากไม่สามารถนำรถเข้าข้างทางได้ให้เปิดไฟฉุกเฉินแล้วจอดรถ
2. ในกรณีที่มีแค่ควันออกมา ให้ดับเครื่องยนต์ เพื่อลดโอกาสเกิดเพลิงไหม้
3. ทิ้งสัมภาระ และให้ทุกคนที่โดยสารมาในรถ ออกจากรถทันที
4. อยู่ห่างจากรถอย่างน้อย 30 เมตร เพื่อไม่ให้ได้รับอันตรายในกรณีที่มีการระเบิด
5. แจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง 199 หรือหน่วยกู้ภัยทันที
|