ระบบโซล่าเซลล์แบบไหนที่เหมาะกับบเรา

1.ระบบออนกริด (On-grid)

 
ระบบออนกริดไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ เนื่องจากระบบนี้จะเชื่อมต่อกับการไฟฟ้า โดยมีการใช้ไฟจากโซล่าเซลล์และไฟจากการไฟฟ้า ระบบนี้จะมีไฟใช้ตลอดเวลา เพราะไฟฟ้าจากระบบการไฟฟ้าหรือไฟบ้าน จะไหลเข้ามาเสริมพลังงานจาก solar cell ที่หายไปตลอดเวลา ไฟฟ้าที่ผลิตเหลือจากการใช้ในแต่ละวัน สามารถขายคืนให้กับทางภาครัฐได้ ทางผู้ใช้จะต้องทำสัญญากับทางภาครัฐตามขั้นตอน
 
ระบบนี้เป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุด ทั้งบ้านและภาคธุรกิจ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม เพราะเน้นการใช้งานโซล่าเซลล์ในเวลากลางวัน และตอนกลางคืนสลับไปใช้ไฟจากการไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับผู้ที่สนใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
 
2.ระบบออฟกริด (Off-grid) หรือระบบอิสระ

 
ระบบออฟกริดจะไม่เชื่อมต่อกับสายของการไฟฟ้าฯ เหมาะสำหรับพื้นที่ที่การไฟฟ้าเข้าไม่ถึง หรือต้องการใช้เพื่อสำรองไฟไว้ใช้เมื่อยามที่ไฟฟ้าดับ สามารถใช้ร่วมกับแบตเตอรี่หรือไม่ร่วมกับแบตเตอรี่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ใช้งาน ในกรณีที่ใช้ร่วมกับแบตเตอรี่กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัว Charge controller เพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์เพียงพอ
 
กระแสไฟฟ้าโซล่าเซลล์จะสามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และใช้ Inverter(อินเวอร์เตอร์) แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน และส่วนที่ผลิตเกินออกมาจะถูกนำไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ในเวลากลางคืนระบบก็จะใช้กระแสไฟฟ้าที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่
 
ระบบออฟกริด จำเป็นต้องอาศัยการคำนวณที่ถูกต้องของปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้าน เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในประจำวัน หรือแม้แต่ในฤดูที่มีแสงแดดน้อย ในกรณีที่แบตเตอรี่เก็บไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุ ฝนตก ท้องฟ้ามืดครึ้ม
 
3.ระบบไฮบริด (Hybrid System)

ระบบนี้คือการนำเอาระบบออฟกริดและระบบออนกริดเข้ามารวมกัน ระบบไฮบริดนี้มีความเสถียรมาก เนื่องจากเสมือนมีแหล่งจ่ายไฟ 3 แหล่ง (โซล่าเซลล์ + แบตเตอรี่ + ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า) คอยช่วยกันจ่ายไฟ หน้าที่ของแบตเตอรี่จะมาช่วยสำรองพลังงาน เมื่อแผงโซล่าร์เซลล์ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ จะแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งต่อมายังไฮบริดอินเวอร์เตอร์ ซึ่งไฮบริดอินเวอร์เตอร์ก็แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งก็จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ และอีกขั้วหนึ่งก็ต่อเข้ากับแบตเตอรี่
 
ส่วนอีกขั้วหนึ่งก็ต่อไฟฟ้าไปใช้งานต่างๆ เมื่อระบบผลิตกระแสไฟฟ้าเกินจากปริมาณใช้งานภายในบ้าน กระแสไฟฟ้าที่เกินนั้น จะถูกนำไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่จนเต็มความจุก็จะหยุด และจะจ่ายไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ภายในบ้านอีกครั้ง ระบบนี้ยังมีการใช้งานที่น้อย เนื่องจากใช้เงินลงทุนและมีค่าซ่อมบำรุงสูง
 
จากระบบของโซล่าเซลล์ทั้ง 3 แบบจะเห็นว่าในแต่ละแบบนั้นมีทั้งดีและเสียเสียแตกต่างกันไป ดังนั้นอย่าลืมเลือกใช้งานระบบที่เหมาะกับบ้านเรากันด้วยนะ

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่