โรงไฟฟ้ามีกี่ประเภทกันนะ

โรงไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ นั้นสร้างขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้า จากหลายแหล่งพลังงาน  เราสามารถแบ่งประเภทของโรงไฟฟ้าได้หลายแบบ หากแบ่งประเภทของโรงไฟฟ้าตามแหล่งที่มา จะสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้

‍โรงไฟฟ้าดีเซล
 
‍ใช้ดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มักใช้กับหน่วยผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก โรงไฟฟ้าประเภทนี้ใช้พื้นที่น้อย ในการติดตั้งมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน  โรงไฟฟ้าดีเซลมักใช้เป็นโรงไฟฟ้าหรือหน่วยผลิตไฟฟ้าสำรองในกรณีที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเกิดความขัดข้อง  แต่ไม่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เพราะมีค่าบำรุงรักษาสูงและน้ำมันดีเซลมีราคาสูง
 
‍โรงไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติ
 
‍ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากการเผาก๊าซธรรมชาติ  ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทหนึ่ง การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงประเภทนี้ปล่อยก๊าซที่เป็นอันตรายสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการเผาไหม้ถ่านหิน หรือน้ำมัน  สำหรับในประเทศไทย มีการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในปริมาณ ประมาณร้อยละ 60 – 65 ของการผลิตไฟฟ้าใช้ในประเทศ
 
‍โรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน
 
‍ใช้ถ่านหิน (Steam coal or Therman coal) ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า  เนื่องจากเชื้อเพลิงประเภทนี้ปล่อยก๊าซอันตรายในปริมาณมากออกสู่ชั้นบรรยากาศ (หากโรงไฟฟ้าไม่มีระบบกรองและดักจับฝุ่นที่ดี) ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศจึงยกเลิกการใช้โรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน  ด้วยคำนึงถึงความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
 
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
 
‍สามารถสร้างผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในปริมาณสูง โดยใช้ปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียส โดยใช้แร่ยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิง  โรงไฟฟ้าประเภทนี้ใช้เชื้อเพลิงในปริมาณต่ำ แต่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในปริมาณมหาศาลและมีคาร์บอนในระดับต่ำด้วย  ขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
 
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 
‍ไฟฟ้าพลังน้ำ ผลิดโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของน้ำไหล  ตามสถานีผลิตพลังงานขนาดใหญ่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะติดอยู่กับอุปกรณ์กังหันน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งจะหมุนด้วยความเร็วสูงเพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำที่ไหลผ่าน  โรงไฟฟ้าประเภทนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดต่าง ๆ ในปริมาณต่ำ แต่การสร้างเขื่อนนั้นต้องอาศัยพื้นที่ในการก่อสร้างและการลงทุนสูงเช่นกัน
 
‍โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
‍       
ใช้เทคโนโลยีโฟโตวอลเทอิก (PV) พลังงานแสงอาทิตย์นั้นสร้างขึ้นจากการแปลงพลังงานจากแสงแดด  ถึงแม้ว่าพลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สะอาดที่สุดและมีอยู่อย่างไม่จำกัด การลงทุนขั้นต้นเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าประเภทนี้มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มต้นสูง เนื่องมาจากต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ในการติดตั้งเพื่อให้ได้กำลังการผลิตที่มากพอด้วย
 
‍โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
‍       
ใช้ชีวมวล เชื้อเพลิงชีวภาพ และขยะในการผลิตพลังงาน  ชีวมวลถือเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่มีบทบาทมากประเทศไทยและปัจจุบันทางรัฐบาลมีการส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากขยะเพิ่มมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาขยะ โดยเฉพาะขยะชุมชน ซึ่งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  เสถียรภาพของไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของเชื้อเพลิงขยะที่เข้ามา หากมีการนำขยะมาคัดแยกเอาเฉพาะส่วนที่เผาไหม้ได้มาใช้ จะทำให้ประสิทธิภาพของดีขึ้น
 
‍โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ
 
‍โรงไฟฟ้านี้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทหลัก คือ โรงไฟฟ้าพลังงานใต้พิภพแบบแห้ง โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพแบบซิงเกิลแฟลชสตีมและโรงงานใต้พิภพแบบสองวงจร ทั้งสามประเภทใช้กังหันไอน้ำในการผลิตไฟฟ้า
 
โรงไฟฟ้าพลังงานลม      
 
อาศัยความเร็วลมธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้า  มักสร้างขึ้นบริเวณพื้นที่โล่งการเกษตร ชายฝั่งและนอกชายฝั่ง โรงไฟฟ้าพลังงานลมมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มต้นสูง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าต่ำ อย่างไรก็ตามการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งเป็นสำคัญ
 
โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขึ้นน้ำลง
 
‍เป็นการใช้ประโยชน์จากปรากฎการณ์ธรรมชาติ ของน้ำขึ้น-น้ำลง มาผลิตไฟฟ้า สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลาซึ่งสามารถคาดเดาได้ง่ายกว่าพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าประเภทนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก และยังต้องอาศัยการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่นำมาใช้
บทความน่าสนใจ

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่