ภาษีมรดก 5 ประเภททรัพย์สินมรดกที่ต้องจ่ายภาษี

ภาษีมรดกคืออะไร
 
ภาษีมรดกปี 2564 ไม่ได้ปรับรายละเอียดจากปีที่ประกาศใช้ใน พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก โดยยังคงความหมายภาษีมรดกไว้ว่า เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท มีชื่อเรียกแบบเต็มว่า ภาษีการรับมรดก โดยทรัพย์สินมรดกที่จะต้องเสียภาษีมีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่
 
  1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้านหรือที่ดิน
  2. หลักทรัพย์ เช่น ตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตร
  3. เงินฝาก
  4. ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน เช่น รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์
  5. ทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ (หากแต่มีการประกาศเพิ่มในอนาคต)
ซึ่งอัตราค่าเก็บภาษีมรดกแบ่งออกเป็น 5% และ 10% ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรตั้งไว้
 
ผู้ที่ต้องเสียภาษีมรดกและภาษีที่ต้องเสีย
 
  • บุคคลทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือด 10%
  • พ่อแม่ 5%
  • ปู่ ย่า ตา ยาย 5%
  • ผู้สืบสันดาน 5%
 
จากที่กล่าวข้างต้นถึงความเข้าใจผิดเรื่องการเสียภาษีมรดก ไม่ใช่ทุกกรณีที่ต้องเสียภาษีนี้ แต่ผู้ได้รับมรดกจะต้องเสียภาษีเมื่อทรัพย์สินมรดกที่ได้รับ มีมูลค่าสุทธิเกิน 100 ล้านบาท โดยเสียภาษีมรดกในอัตราภาษีคงที่ และแบ่งออกเป็น 2 อัตราดังที่ระบุไว้ ดังนี้
 
  • บุคคลทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือดกับผู้ให้มรดก จะต้องเสียภาษีมรดกในอัตราคงที่ 10%
  • หากผู้รับมรดกเป็นบุพการี เช่น พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือผู้สืบสันดาน เช่น บุตรหลาน จะได้รับการลดหย่อนอัตราภาษี เหลือเพียงแค่ 5% เท่านั้น
กรณีใดบ้างที่ได้รับการยกเว้นภาษีมรดก
 
  • กรณีที่ผู้ได้รับมรดกเป็นสามีหรือภรรยาของผู้ให้มรดก และได้มีการจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้นั้นจะได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีมรดก
  • หากยกมรดกให้กับหน่วยงานของรัฐ มรดกนั้นจะได้รับการยกเว้นภาษีมรดก ไม่ต้องจ่ายแม้แต่บาทเดียว
  •  
บทลงโทษสำหรับผู้เลี่ยงภาษีมรดก
 
  • หากผู้ได้รับมรดกไม่ยื่นภาษีโดยเหตุสมควร มีโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าจากภาษีที่ต้องจ่าย

 

  • ผู้ได้รับมรดกยื่นภาษีแต่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องเสียเบี้ยปรับอีก 5 เท่าของภาษีที่ต้องจ่าย
 
 

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่