มิเตอร์ tou ดียังไงทำไมคนใช้ ev ถึงชอบ

 

เริ่มต้นด้วยว่า มิเตอร์ไฟฟ้า ( Kilowatt-Hour Meter ) เป็นเครื่องวัดที่ทำงานด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวัดปริมาณกำลังไฟฟฟ้ากระแสสลับทั้งในบ้านเรือน และในโรงงานอุตสาหกรรมโดยมีหน่วยวัดพลังงานไฟฟ้าเป็น กิโลวัตชั่วโมง (Kilowatt-hour) สามารถจําแนกตามระบบไฟฟ้าได้ 2 ประเภท

1.วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส

2.วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส (Three phase watt-hour meter)

ทีนี้ตามมาด้วยว่าทำไมคนใช้รถ ev ถึงนิยมเปลี่ยนจากมิเตอร์ทั่ว ๆ ไปมาใช้มิเตอร์แบบ  tou   ก็คงต้องย้อนกลับไปที่ความต่างในการคิดเรทค่าไฟฟ้าของมิเตอร์ทั้ง 2   แบบไม่เหมือนกัน คือ

มิเตอร์แบบทั่วไป

มิเตอร์ทั่วไปใช้ระบบการคิดค่าไฟแบบ "อัตราก้าวหน้า" หมายถึงการไฟฟ้ามีการกำหนดขั้นบันไดการใช้ไฟฟ้าเอาไว้ ยิ่งบ้านไหนใช้เยอะ ก็จะต้องจ่ายค่าไฟเยอะขึ้น

อัตราค่าไฟฟ้าแบบก้าวหน้า

50 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1 – 150) หน่วยละ 3.2484 บาท
250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151 – 400 ) หน่วยละ 4.2218 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) หน่วยละ 4.4217 บาท

*(ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนไม่ใช่ข้อมูลในปัจจุบัน)

มิเตอร์ tou

โดยที่การคิดแบบ TOU เราจะคิดค่าไฟต่อหน่วยเป็นช่วงเวลา โดยในไทย เราจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงได้แก่ On-Peak และ Off-Peak ซึ่งจากที่เราดูล่าสุด เขาจะคิดอยู่ที่หน่วยละ 5.1135 บาท และ 2.6037 สำหรับ On-Peak และ Off-Peak ตามลำดับ กับ On-Peak จะอยู่ในช่วงเวลา 9.00 - 22.00 น. ของวันธรรมดา และ Off-Peak อยู่ที่ 22.00 - 09.00 น. ของวันธรรมดา รวมไปถึง วันเสาร์ และ อาทิตย์ กับ วันหยุดที่รัฐกำหนดด้วย ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า การใช้ไฟในช่วง Off-Peak เราจะใช้เงินน้อยกว่ามาก ๆ เพราะเป็นช่วงที่การไฟฟ้าพยายามอยากให้คนมาใช้นั่นเอง

ทีนี้มาดูว่าทำไมคนใช้รถ ev ถึงชอบมิเตอร์แบบ tou   เพราะ

1.การชาร์จรถไฟฟ้าแต่ละครั้งจะต้องใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่เยอะมากจึงทำให้ค่าไฟฟ้าต่อหน่อยแบบอัตราก้าวหน้ามีราคาแพง

2.คนใช้รถ ev มักจะชาร์จตอนกลางคืนทิ้งไว้ตอนเช้าถอดออกแล้วค่อยขับไปทำงานค่าไฟฟ้าแบบ  off-peak   ของ  tou   จึงถูกว่าแบบอัตราก้าวหน้า

3.เหตุผลหลัก ๆ เลยก็คือค่าไฟฟ้ามันถูกกว่าแบบอัตราก้าวหน้า

*(แต่ถ้าชาร์จแบบ on-peak ก็แพงกว่าแบบมิเตอร์ปกติแน่นอน)

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่