คาร์บอนเครดิต คืออะไร

สิทธิของบุคคลหรือองค์กรที่จัดทำโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกป่า ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกได้ตามมาตรฐานหรือตามเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำมาทำการซื้อ-ขายให้กับองค์กรอื่นได้ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ ตามข้อตกลงในพิธีสารเกียวโต ที่กำหนดให้ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก
 
 
ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเมื่อปี 2545 ในกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่ได้ถูกบังคับ แต่สามารถเข้าร่วมโครงการในฐานะผู้ผลิตคาร์บอนได้ ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization : TGO) ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ ทั้งส่วนของภาครัฐ เอกชน และต่างประเทศ
 
ตลาดคาร์บอนเครดิต
 
ตลาดคาร์บอนเครดิต คือ ตัวกลางในการแลกเปลี่ยนและซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต จากกลุ่มผู้ซื้อ ผู้ขาย นักลงทุน และกลุ่มคนที่สนใจ ที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีตลาด 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
 
  • ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory Carbon Market) : ตลาดที่มีรัฐบาลเป็นผู้กำกับดูแลและออกกฎหมายในการควบคุมอย่างชัดเจน ทั้งหลักเกณฑ์ ข้อบังคับ วิธีการ รายละเอียดในการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต บทลงโทษ รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ หากสามารถทำได้ตามเป้าหมายภายใต้เงื่อนไขข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ 
 
  • ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) : ตลาดที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์กรหรือผู้ประกอบการต่าง ๆ เพื่อทำการแลกเปลี่ยนซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ได้รับสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่สิ่งแวดล้อมในปริมาณที่ไม่เกินกำหนด ซึ่งตลาดดังกล่าวจะไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมก๊าซเรือนกระจกมาบังคับ และผู้ที่เข้าร่วมจะไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายใด ๆ 
 
ปัจจุบันตลาดคาร์บอนเครดิตในไทยเป็นแบบภาคสมัครใจ เพราะยังมีผู้ประกอบการน้อยราย โดยผู้ที่เข้าร่วมจะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction : T-VER) และหากผ่านการรับรองก็จะได้รับเครดิตที่เรียกว่า TVERs ที่สามารถนำไปใช้สิทธิในการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) ได้
 
ประโยชน์คาร์บอนเครดิต
 
  • สามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการขายคาร์บอนเครดิต
  • ทำให้เกิดแรงจูงใจให้ประเทศอุตสาหกรรมหรือองค์กรต่าง ๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อไม่ต้องเสียเงินซื้อเครดิตคาร์บอนเพิ่ม
  • ทำให้มีผู้พัฒนาโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น เช่น ปลูกป่า ประหยัดพลังงาน ลดการใช้ถุงพลาสติก เป็นต้น

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่