อากาศมันร้อนมาเตรียมตัวซื้อแอร์เข้าบ้านเพื่อคลายร้อนกันเถอะก่อนที่จะติดแอร์ที่บ้านอย่าลืมเช็ค ระบบไฟที่บ้าน ขนาดพ้ืนที่ที่จะติด จากนั้นก็ดำเนินการเลือกซื้อตามที่เราต้องการกันเลย
เลือกขนาด BTU แอร์ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง BTU (British Thermal Unit) เป็นคำที่มักได้ยินอยู่เสมอ และมักมาพร้อมคำถามสุดคลาสิคประจำว่า ” ขนาดห้องเท่านี้ ควรใช้แอร์ขนาดกี่ BTU ” เอาที่เข้าใจแบบบ้าน ๆ เลยนะ บีทียู คือหน่วยที่แสดงถึงปริมาณการใช้พลังงานความร้อนที่ใช้ในการทำความเย็น ตามหลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ยิ่ง BTU เยอะยิ่งใช้ไฟเยอะ และหน่วยดังกล่าวนี้ถูกใช้เป็นตัวแทนเรียก ขนาดแอร์ นั่นเอง แอร์สำหรับที่พักอาศัยที่วางขาย ณ ปัจจุบัน มีขนาดเริ่มต้นตั้งแต่ 8,000 BTU ไปจนถึง 30,000 BTU พื้นที่ติดตั้งและขนาดคอมเพรสเซอร์ กรณีที่เป็นแอร์ประเภทติดผนัง หรือฝังฝ้าที่จำเป็นต้องทำการติดตั้งเพื่อใช้งาน สิ่งที่ควรดูก่อนตัดสินใจซื้อคือ เรื่องพื้นที่ติดตั้ง ทั้งตัวเครื่องและตัวคอมเพรสเซอร์ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในหอพักหรือคอนโดที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด หากซื้อมาแล้วหาที่ติดตั้งไม่ได้ ความวุ่นวายบังเกิดแน่นอนจ้า โดยทั่วไปเราควรต้องลองวัดขนาดพื้นที่คร่าว ๆ สำหรับการติดตั้งตัวเครื่องและคอมเพรสเซอร์เผื่อไว้ก่อนที่จะไปซื้อด้วย เพื่อที่เวลาช่างมาติดตั้ง ถ้ามันเกิดไม่พอดี จะได้ไม่ต้องเสียเที่ยวเปลี่ยนเครื่องใหม่ ซึ่งปกติแล้วการซื้อจากร้านค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเค้าจะมีบริการมาติดตั้งให้ฟรี แต่สำหรับบางที่เพื่อน ๆ อาจจะต้องหาช่างมาติดตั้งเอง
ระบบเครื่องปรับอากาศ ส่วนระบบอินเวอร์เตอร์มีดีที่ระบบการทำงาน ฟังก์ชันเยอะกว่าและประหยัดไฟมากกว่าทำให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานน้อยลงจากแบบธรรมดาเกือบเท่าตัว เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิเท่ากับที่ตั้งไว้แล้ว ระบบจะไม่ตัดไฟ แต่จะใช้การลดความเร็วรอบของมอเตอร์แทน ทำให้ไม่ต้องมีช่วงติดเครื่องใหม่หลายรอบ ส่วนข้อเสียน่าจะเป็นเรื่องราคาตัวเครื่องและอะไหล่สำหรับการซ่อมบำรุงมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควร
น้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น ราคาน้ำยาแอร์-ราคาเติมน้ำยาแอร์ เมื่อนำข้อมูลสองชุดมาผนวกกันแล้วต้องตั้งคำถามกับตัวเองต่อว่ามีความจำเป็นในการใช้งานเครื่องปรับอากาศแค่ไหน? ซึ่งสำหรับบางคนอาจมีความต้องการใช้งานแค่ให้พ้นไม่กี่เดือนในฤดูร้อน หรือใช้บ้างบางวาระโอกาส การซื้อเครื่องปรับอากาศธรรมดาที่ใช้น้ำยา R22 และ R32 ในราคาสบายกระเป๋าและยอมจ่ายค่าไฟที่แพงขึ้นในบางเดือนก็ถือว่าเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายไม่มากเท่าใดนัก แต่สำหรับบางคนที่ต้องเปิดแอร์เป็นเวลานาน ๆ มีความต้องการใช้งานในทุก ๆ วันหรือมีกำลังซื้อยอมจ่ายแพงในคราวเดียวเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน การเลือกเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ที่ใช้น้ำยา R32 และ R410A คงจะเป็นคำตอบที่ลงตัวที่สุด อย่างไรก็ตามกลยุทธทางการตลาดทุกวันนี้ทำให้เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ดูมีราคาใกล้เคียงกับระบบธรรมดา ด้วยการระบุราคาเครื่องเปล่าไม่รวมค่าติดตั้งและอุปกรณ์ ในขณะที่รุ่นธรรมดาส่วนใหญ่จะรวมค่าติดตั้งและอุปกรณ์เข้าไปแล้ว ดังนั้นหากเลือกเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ควรนำเอาราคาทั้งสองส่วนมาคำณวนร่วมกันด้วย จึงจะประมาณค่าใช้จ่ายที่แท้จริงได้ ระบบไฟฟ้าในบ้าน ระบบไฟฟ้าในบ้านอันนี้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่หลาย ๆ คนมองข้ามว่าในบ้านเราเองนั้นมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างและแต่ละเครื่องกินกระแสไฟฟ้าเท่าไรให้เราตั้งสมมติฐานว่าเราเปิดทุกอย่างพร้อมกันดู เช่นที่บ้านมีมิเตอร์ 5(15)A หมายความว่าเรามีมิเตอร์ 5 แอมป์ใช้กระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 15 แอมป์นั่นเอง งั้นมาจำลองสถานการณ์กันหากเราใช้ตู้เย็น พัดลม เครื่องทำน้ำอุ่น ทุกอย่างพร้อมกันใช้กระแสไฟไป 8 แอมป์ ดังนั้นแอร์ตัวใหม่ที่จะซื้อมาติดตั้งก็ควรมีการกินไฟไม่เกิน 7 แอมป์นั้นเองแล้วทำไมถึงไม่เกิน 7 แอมป์ล่ะ เพราะ ใช้ไฟก่อนซื้อ + หลังซื้อ = ไม่เกินขนามิเตอร์ จะ ได้ 8+7 = 15 ไม่เกินขนาดมิเตอร์ของบ้านเรา 5(15)A ตัวเลขทั้งหมดเป็นการจำลองขึ้นมาในกรณีที่เราใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่างพร้อมกันเท่านั้น |