วัสดุอุปกรณ์
-
เนื้อเทียน ในการทำเทียน วัสดุชนิดแรกที่ต้องมีก็คือเนื้อเทียน สำหรับวัสดุที่ใช้สามารถเลือกได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นพาราฟิน (Paraffin), เจลแว็กซ์ (Candle Gel Wax), ไขผึ้ง (Bee Wax), ไขถั่วเหลือง (Soy Wax), ไขมันปาล์ม (Palm Wax) หรือจะเป็นเทียนเล่มเก่า ๆ ก็สามารถใช้ได้ค่ะ หากคุณต้องการเติมสีสันให้กับเทียนหอมพาราฟินจะเหมาะสมมากที่สุดเนื่องจากไม่มีสีหรือกลิ่น ช่วยให้สีที่เติมเข้าไปเด่นชัดและไม่เพี้ยน ส่วนไขผึ้งจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ช่วยให้ความรู้สึกสบายตา และไขถั่วเหลืองจะเป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติมากที่สุด
-
ไส้เทียน ไส้เทียนเป็นวัสดุที่จะช่วยให้เทียนของเราใช้งานได้นานขึ้น โดยไส้เทียนสามารถเลือกใช้วัสดุได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นด้ายคอตตอน, เชือกเคลือบแว็กซ์ หรือไม้หอมแผ่นบาง ๆ ซึ่งไส้เทียนจะมีหน้าที่ยึดให้เนื้อเทียนเหลว ๆ เกาะติดไปกับไส้เทียนและทำให้การเผาไหม้มีความต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มแสงสว่างได้นานขึ้นจนกว่าไส้เทียนจะถูกเผาไหม้จนหมด
-
น้ำมันหอมระเหย น้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับเทียนหอม ซึ่งน้ำมันหอมระเหยก็มีให้เลือกหลากหลายตั้งแต่กลิ่นพื้นฐานอย่างตะไคร้, ลาเวนเดอร์, กุหลาบ, มิ้นต์, เลมอน ไปจนถึงกลิ่นที่เป็นความชอบส่วนบุคคลอย่างโคล์ดวอเตอร์, ป่าฝน, น้ำทะเล, ทุ่งหญ้า หรือจะเป็นกลิ่นดินหลังฝนตกก็มีให้เลือกตามความต้องการ ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจะสกัดมาจากกลิ่นหอมของสมุนไพรและน้ำมันที่อยู่ในกลีบดอกไม้ต่าง ๆ หรือสังเคราะห์ขึ้นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ก็จะมีสรรพคุณที่ต่างกัน เช่นน้ำมันหอมระเหยจากโรสแมร์รี่จะช่วยขจัดแบคทีเรียและเชื้อโรค ช่วยให้มีสมาธิและสดชื่น ส่วนกลิ่นลาเวนเดอร์จะกระตุ้นการขับเชื้อโรคและช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับสนิท
-
สีผสมเทียน สำหรับครที่ต้องการให้เทียนมีสีสันต่าง ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยการนำสีฝุ่นหรือสีน้ำมันมาผสม สำหรับสีผสมเทียนมีรูปแบบหลากหลาย ทั้งแบบผงและแบบก้อน หรือจะนำสีเทียนที่ใช้ระบายสีมาย้อมเทียนก็สามารถทำได้เนื่องจากมีส่วนประกอบชนิดเดียวกัน ส่วนสีผสมแบบผงอาจจะใช้งานยากกว่ารูปแบบอื่น ๆ สักเล็กน้อยเนื่องจากเม็ดสีจะจับตัวเป็นก้อนและละลายกับเนื้อเทียนได้ยากกว่า ต้องใช้เวลานานและความพิถีพิถันในการผสมเล็กน้อย
-
แก้ว ส่วนใหญ่แล้วเทียนหอมมักจะบรรจุในแก้วทรงต่ำที่มีความกว้างพอประมาณหรือบรรจุในกระปุกมีฝาปิดเพื่อความสะดวกในการใช้งาน สำหรับวัสดุที่ใช้บรรจุเทียนหอมจะต้องเป็นแก้วหนาทนความร้อนเพื่อความปลอดภัย ไม่สามารถใช้แก้วดื่มน้ำทั่วไปได้เนื่องจากเนื้อแก้วบางและอาจจะแตกได้หากจุดเทียนเป็นเวลานาน
-
แม่พิมพ์เทียน นอกจากแก้วคุณยังสามารถขึ้นรูปเทียนเป็นลวดลายต่าง ๆ ได้ด้วยพิมพ์ซิลิโคนเพื่อเพิ่มความสวยงามและเพิ่มมูลค่าของสินค้า ซึ่งพิมพ์ซิลิโคนมีลวดลายให้เลือกหลากหลายไม่ว่าจะเป็นรูปดอกไม้, ตัวอักษร, รูปปั้นและเสาสไตล์กรีก, ลายแคคตัส หรือจะเป็นรูปทรงเรขาคณิตและทรงกระบอกต่าง ๆ ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถเลือกลวดลายและรูปแบบได้ตามต้องการ
-
ของตกแต่ง ของตกแต่งสามารถเพิ่มความสวยงามให้กับเทียนหอมของเราได้อย่างง่ายดาย ซึ่งของตกแต่งเทียนหอมมีให้เลือกหลากหลายทั้งทองคำเปลว, ดอกไม้แห้ง หรือใบไม้แห้ง ซึ่งดอกไม้บางชนิดก็สามารถเพิ่มกลิ่นหอมให้กับเทียนได้หากคุณไม่ต้องการใช้น้ำมันหอมระเหย เช่นดอกลาเวนเดอร์ กลีบกุหลาบ, โรสแมร์รี่ หรือโรสวู้ด หรือคนที่ชอบเทียนหอมกลิ่นซิตรัสก็สามารถนำส้มหรือเลมอนอบแห้งมาตกแต่งได้เพื่อเทียนอยู่ในธีมเดียวกันเพื่อความสวยงาม
วิธีการทำ
-
เลือกเนื้อเทียนที่เราต้องการจัดเตรียมให้เพียงพอต่อความต้องการโดยมีปริมาณที่พอดีกับแบบที่เราจะนำมาใช้เช่น แก้วหรือแบบแม่พิมพ์ต่าง ๆ
-
อุ่นขี้ผึ้งให้ร้อน อุ่นขี้ผึ้งให้ละลายโดยใช้การต้มแบบสองชั้นให้มีอุณหภูมิประมาณ 180-190 ฟาเรนไฮต์ (82-88 องศาเซลเซียส) โดยคุณสามรถใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดเพื่อให้ได้อุณหภูมิที่แม่นยำ และถ้าคุณชอบให้เทียนมีกลิ่นก็ค่อยใส่น้ำมันหอมระเหยตามลงไปทีหลัง
-
จัดเตรียมใส้เทียนให้มาความยาวที่พอเหมาะกับแม่พิมพ์ที่เราเลือกมาใช้งานอาจยาวกว่าได้แล้วค่อยตัดทิ้งภายหลังในที่นี้อาจจะใช้ตัวด้ายคอตตอน, เชือกเคลือบแว็กซ์ หรือไม้หอมแผ่นบาง ๆ ก็ได้
-
นำภาชนะที่เตรียมไว้ไปอุ่นให้ร้อนเพื่อลดการเกิดฟองอากาศ คุณจะต้องนำภาชนะที่ใส่ไปอุ่นให้ร้อนเสียก่อนที่จะนำมาใส่เทียน โดยให้นำไปอบในอุณหภูมิ 150 ฟาเรนไฮต์ (66 องศาเซลเซียส) สักครู่หนึ่ง
-
เทเนื้อเทียนที่เราอุ่นไว้ลงไปในภาชนะที่สำคัญจับไส้เทียนเอาไว้นิ่งๆ ข้างบนภาชนะ จากนั้นให้ค่อยๆ เทเนื้อเทียนที่ละลายเอาไว้ลงไป ระวังอย่าให้ชนหรือเทเร็วไปเพราะอาจจะทำให้เกิดฟองอากาศได้ โดยให้เทขี้ผึ้งเพียง 3 ใน 4 จากจำนวนที่ต้องการเท่านั้น
-
เทเนื่อเทียนที่ละลายอีกรอบหลังจากที่เราปล่อยเนื้อเทียนก่อนหน้าเซตตัวดีแล้วให้เราเทเพื่อเติมส่วนที่เหลือ 1 ใน 4 ส่วนที่เราเหลือไว้ในขั้นตอนที่ 5
-
หลังจากที่เทียนแข็งงตัวดีแล้วให้ตัดไส้เทียนที่เหลือไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ให้มีขนาดพอดีกับภาชนะที่เราเติมเนื้อเทียนลงไปเพียงเท่านี้ก็จะได้เทียนไว้ใช้งานเองได้แล้ว
|