แอสปาร์แตม น้ำตาลเทียม อันตรายสายหวานไม่เน้นน้ำตาล

แอสปาร์แตม คืออะไร
 
แอสปาร์แตม (Aspartame) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่นิยมนำมาให้เป็นส่วนประกอบของอาหารและเครื่องดื่ม และสามารถพบได้บ่อยที่สุดในท้องตลาด ทำมาจากกรดแอสปาร์ติก (Aspartic Acid) และฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนตามธรรมชาติผสมกับเมทิลเอสเทอร์ (Methyl Ester) โดยกรดแอสปาร์ติกนั้นเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถผลิตเองได้ ส่วนฟีนิลอะลานีนเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น แอสปาร์แตมเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะย่อยสลายเป็นเมทานอล (Methanol) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเผยว่า หากร่างกายได้รับเมทานอลในปริมาณมากเกินไปก็อาจเป็นพิษได้ เนื่องจากเมทานอลอาจเปลี่ยนเป็นสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ
 

  1.  
 
การบริโภคแอสปาร์แตม มีผลข้างเคียงอะไรไหม
 
จากข้อมูลของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) เผยว่า แอสปาร์แตมนั้นหวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า ฉะนั้น ร่างกายจึงควรได้รับในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยปริมาณที่แนะนำต่อวัน ได้แก่
 
องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (United States Food and Drug Administratio หรือ FDA) แนะนำว่า ไม่ควรเกิน 50 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority หรือ EFSA) แนะนำว่า ไม่ควรเกิน 40 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
 
แม้หน่วยงานส่วนใหญ่จะระบุว่า คนส่วนใหญ่สามารถบริโภคแอสปาร์แตมได้อย่างปลอดภัย หากไม่เกินปริมาณที่แนะนำ แต่จากรายงานเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากการบริโภควัตถุเจือปนอาหารขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ผู้บริโภคบางราย มีอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ มีอาการชา กล้ามเนื้อกระตุก ผื่นคัน น้ำหนักขึ้น อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หายใจลำบาก ปวดข้อ สูญเสียการรับรส และหากเราใส่แอสปาร์แตมในอาหารที่ร้อนจัด ความร้อนก็จะไปทำลายโครงสร้างของน้ำตาล จนอาจกลายเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้ด้วย
 
จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ของแอสปาร์แตมโดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ก็พบว่าผู้ที่มีโรคเรื้อรังบางประการ อาจต้องเลี่ยงแอสปาร์แตม เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าว หรือ ทำให้อาการแย่ลงได้
 
 
โรคเรื้อรังที่ควรเลี่ยงแอสปาร์แตม
  • เนื้องอกในสมอง
  •  
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคเอ็มเอส (Multiple Sclerosis)
  •  
  • โรคลมชัก
  •  
  • กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง
  •  
  • โรคพาร์กินสัน
  •  
  • โรคอัลไซเมอร์
  •  
  • ภาวะปัญญาอ่อน
  •  
  • โรคเบาหวาน
 
โรคฟินิลคีโตนูเรีย ยิ่งต้องห้ามบริโภคแอสปาร์แตม หรือน้ำตาลเทียมนี่เด็ดขาด เพราะร่างกายจะไม่สามารถเผาผลาญฟีนิลอะลานีนซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลักของแอสปาร์แตมได้

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่