รู้จักแผ่นดินไหว เบื้องต้นรวมถึงการวัดระดับความแรง

ความร้ายแรงอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวสามารถบอกได้ในรูปของความรุนแรง (Intensity) และขนาด (Magnitude) ของแผ่นดินไหว อย่างไรก็ตามสองค่านี้ค่อนข้างแตกต่างกัน และมักจะใช้กันค่อนข้างสับสนความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Intensity) ขึ้นอยู่กับผลกระทบของแผ่นดินไหวที่มีต่อความรู้สึกของคน ต่อความเสียหายของอาคารและสิ่งก่อสร้าง และต่อสิ่งของธรรมชาติต่าง ๆ ความรุนแรงจะมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละแห่งที่ถูกรบกวนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผู้สังเกตว่าอยู่ห่างไกลจากตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Epicenter) มากน้อยเพียงใดขนาดของแผ่นดินไหว เกี่ยวข้องกับปริมาณของพลังงานซึ่งถูกปล่อยออกมา ณ ตำแหน่งจุดกำเนิดแผ่นดินไหว (Hypocenter) ค่าขนาดแผ่นดินไหวนี้ขึ้นอยู่กับความสูงของคลื่นแผ่นดินไหว (Amplitude) ที่บันทึกได้ด้วยเครื่องวัดแผ่นดินไหว (Seismograph) ดังนั้นขนาดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งจึงมีได้เฉพาะค่าเดียวซึ่งได้จากการตรวจจับด้วยเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวเท่านั้น

ขนาดของแผ่นดินไหวตามมาตราริกเตอร์ (Richter) คลื่นแผ่นดินไหว (Seismic Wave) หรือคลื่นที่ทำให้เกิดอาการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวที่ส่งผ่านมายังผิวโลกและสามารถบันทึกไว้ได้ด้วยเครื่องวัดแผ่นดินไหว (Seismograph) ในรูปของกราฟแผ่นดินไหว (Seismogram) กราฟแผ่นดินไหวเป็นเส้นขึ้นลงสลับกันแสดงถึงอาการสั่นสะเทือนของพื้นดินใต้เครื่องวัดแผ่นดินไหวนั้น เครื่องมือวัดแผ่นดินไหวที่มีความไวสูง สามารถรับคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหวที่รุนแรงได้ทุกแห่งในโลก เครื่องวัดแผ่นดินไหว สามารถคำนวณหาเวลา ตำแหน่ง และขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ณ สถานีวัดแผ่นดินไหวแห่งใดแห่งหนึ่งได้

มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวของริกเตอร์ (The Richter Magnitude Scale) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1935 (พ.ศ. 2478) โดย Charles F.Richter แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เราจึงนิยมใช้หน่วยของขนาดแผ่นดินไหวว่า ริกเตอร์ (Richter) เป็นตัวเลขที่ทำให้สามารถเปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวต่าง ๆ กันได้ เป็นมาตราที่วัดขนาดของแผ่นดินไหว ซึ่งบันทึกได้จากเครื่องวัดแผ่นดินไหว (Seismograph) มิได้เป็นหน่วยวัดเพื่อแสดงผลของความเสียหายที่เกิดขึ้น วัดได้จากความสูงของคลื่น (Amplitude) แผ่นดินไหวที่ปรากฎในเครื่องวัดแผ่นดินไหว และคำนวนได้จากสูตรทางคณิตศาสตร์เป็น Logarithm ของความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ ขนาด (Magnitude) ของแผ่นดินไหวเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่บ่งชี้ความร้ายแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ระดับเป็นศูนย์ โดยกำหนดให้แผ่นดินไหวที่เกิดที่ระดับเป็นศูนย์มีค่าความสูงของคลื่น 0.001 มม. ที่ระยะทาง 100 กิโลเมตร จากศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Epicenter) ขนาดของแผ่นดินไหวตาม มาตราริกเตอร์นี้จะบอกได้เป็นตัวเลข จำนวนเต็มและจุดทศนิยม

 

รวมระดับความแรงตั้งแต่น้อยไปมาก

ขนาด (ริกเตอร์)
ความรุนแรง (เมอร์คัลลี่)
อัตราเร่งพื้นดิน (%G)
น้อยกว่า 3.0
I-II ประชาชนไม่รู้สึก ตรวจวัดได้เฉพาะเครื่องมือ
น้อยกว่า 0.1 - 0.19
3.0 - 3.9
III คนอยู่ในบ้านเท่านั้นรู้สึก
0.2 - 0.49
4.0 - 4.9
IV-V ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกได้
0.5 - 1.9
5.0 - 5.9
VI-VII ประชาชนทุกคนรู้สึก และอาคารเสียหาย
2.0 - 9.9
6.0 - 6.9
VII-VIII ประชาชนตื่นตกใจ และอาคารเสียหายปานกลาง
10.0 - 19.9
7.0 - 7.9
IX-X อาคารเสียหายอย่างมาก
20.0 - 99.9
มากกว่า 8.0
XI-XII อาคารเสียหายเกือบทั้งหมด
มากกว่า 100.0

 

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่