แข็งแรงแบบป๊อปอาย ด้วย ผักโขม

ผักโขม หรือ ผักขม (Slender amaranth) เป็นผักที่ขึ้นตามแหล่งธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง รวมทั้งสวนผักผลไม้เป็นต้น ผักขมยังได้รับการนิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ผัดผักโขม แกงจืดผักโขม ผักโขมอบชีส ขนมปังหน้าผักโขมอบชีส เป็นต้น 
 
 
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าผักโขมเป็นพืชที่มีสายพันธุ์อยู่กว่า 70 สายพันธุ์ทั่วโลก  แต่ในบทความนี้ขอกล่าวถึงผักโขมสายพันธุ์ A. livdus L. หรือ Amaranth green ซึ่งเป็นผักโขมที่ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย ผักโขม (A. livdus L. ) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นเดียวกันกับอีกหลายสายพันธุ์ โดยมีถิ่นกำเนิดบริเวณประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา  รวมถึง มาเลเซีย อินโดนีเซียด้วย ดังนั้นจึงถือได้ว่าผักโขมพันธุ์นี้เป็นพืชเมืองของไทยที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป และมีการใช้ประโยชน์ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยจะพบได้ตามที่รกร้างทั่วไป ริมทาง ป่าทั่วไป ตามแปลงเกษตรของเกษตรกร รวมถึงมีการเพาะปลูกไว้จำหน่ายตามท้องถิ่นต่างๆ อีกด้วย
 
ประโยชน์ของ ผักโขม ของดีที่ต้องลอง
นอกจากผักโขมจะขึ้นชื่อว่าเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงแล้วก็ยังเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายจนน่าตกใจเลยล่ะ โดยคุณประโยชน์ก็มาจากสารอาหารในเจ้าผักชนิดนี้ล่ะค่ะ อย่างเช่น เบต้า-แคโรทีน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม
 
ขณะที่สารซาโปนิน (Saponin) ในผักโขมก็ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ขจัดสารพิษในร่างกาย ชะลอความแก่ชรา ส่วนวิตามินเอก็ให้คุณไม่น้อยหน้า ด้วยการช่วยบำรุงสายตา และยังมีวิตามินซีที่ป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน เสริมสร้างคอลลาเจนให้แก่ผิวพรรณอีกด้วย ปิดท้ายกันด้วยไฟเบอร์ ที่มีเพียบในผักใบเขียวอย่างผักโขม ทำหน้าที่ในการกระตุ้นระบบการขับถ่าย ทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารลดลงได้ค่ะ นอกจากนี้ผักโขมไม่ได้มีสรรพคุณเพียงเท่านี้นะคะ แต่ผักโขมนั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คิดค่ะ วันนี้ SGE ได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทุกคนทราบกันแล้ว
 
  • ใช้ในการช่วยบำรุงน้ำนม เหมาะสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนที่มีน้ำนมไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูก เพราะผักโขม ช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่หลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงผักขมมีวิตามินเอ วิตามินซี ที่จะช่วยให้น้ำนมของคุณแม่หลังคลอดสมบูรณ์ขึ้น
  • มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักและลดความอ้วนได้เป็นอย่างดี เพราะการรับประทานผักขมจะช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องได้เร็วและนานอีกทั้งยังช่วยชะลอการดูดซึมไขมันในร่างกาย
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนสำหรับสตรี เนื่องจากผักโขม จะมีส่วนช่วยในการลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในบริเวณช่องท้อง
  • ใช้ในการบำรุงร่างกายสำหรับคุณแม่หลังคลอด และช่วยให้ทารกน้อยมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งรังไข่ เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง
  • ผู้สูงอายุที่รับประทานผักโขม จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผักขมมีฤทธิ์ช่วยชะลอการตายของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเมื่อรับประทานเป็นประจำ
  • สำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ การรับประทานผักโขม ถือเป็นผักที่แนะนำให้รับประทานกันอย่างมาก เนื่องจากมันอุดมไปด้วยโปรตีนสูง
  • ช่วยบำรุงสุขภาพของดวงตา และช่วยป้องกันความเสื่อมที่อาจเกิดกับดวงตาได้ เนื่องจากมีวิตามินเอสูง
  • มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน พร้อมทั้งช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้มีสุขภาพที่แข็งแรง เนื่องจากมีวิตามินซีสูง
  • ช่วยในการกระตุ้นการขับถ่ายในแต่ละวัน เนื่องจากผักโขม อุดมไปด้วยไฟเบอร์หรือกากใยอาหารปริมาณมาก
  • เหมาะสำหรับสาวๆ ที่ต้องการบำรุงผิวพรรณ เพราะผักโขม มีสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการแก่และตายของเซลล์
  • สำหรับผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อ หรืออยู่ในช่วงของการงดรับประทานเนื้อทุกชนิด แนะนำให้รับประทานผักโขม เพราะผักขมมีส่วนประกอบของโปรตีนในปริมาณค่อนข้างสูง แต่ควรรับประทานควบคู่กับอาหารจำพวกเต้าหู้ถั่วเหลือง เพื่อให้ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับในแต่ละวันเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์
  • มีส่วนช่วยในการบำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบหัวใจ และลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจได้
  • ผู้ที่มีปัญหาในเรื่องของเลือดออกตามไรฟันบ่อยๆ ควรรับประทานผักโขม เพราะในผักขมมีส่วนประกอบของวิตามินซี ปริมาณมาก 
  • ในผักโขม จะอุดมไปด้วยวิตามินเค ซึ่งสารชนิดนี้มีส่วนช่วยในการป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุด ซึ่งในผู้ป่วยที่รับประทานกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น aspirin, warfarin ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก เนื่องจากฤทธิ์ของผักขมจะไปต้านฤทธิ์กับกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด 

 
ข้อควรระวังในการใช้ผักโขม
  • ในผักโขมจะมีกรดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า กรดออกเซลิคอยู่ค่อนข้างสูง ซึ่งสารชนิดนี้จะมีส่วนทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กในตัวมันได้ 
  • ไม่ควรรับประทานผักโขมดิบ แต่ควรนำมาปรุงให้สุกก่อน ทั้งนี้เพื่อเป็นการทำลายกรดออกเซลิค
  • การบีบมะนาวลงบนผักโขมที่ปรุงสุกแล้ว จะช่วยให้ร่างกายของคนเราสามารถดูดซึมเอาธาตุเหล็กได้ดีกว่าเดิม 
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคนิ่ว โรคเกาต์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และในกลุ่มผู้ที่สะสมปริมาณของแคลเซียม ควรเลี่ยงการรับประทานผักโขมในปริมาณมาก
  • ในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับประทานยาในกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น aspirin, warfarin (เช่นโรคหัวใจ) ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก เนื่องจากฤทธิ์ของผักโขมจะไปต้านฤทธิ์กับกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหนืดเกินไปได้ ทำให้เกิดลิ่มเลือด มีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่