ดินประสิวคืออะไร
สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่า ดินประสิว คืออะไร มันคือ สารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า โพแทสเซียมไนเตรท (Potassium nitrate) มีลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายน้ำได้ดี ไม่มีกลิ่น มีรสเค็มเล็กน้อย โดยในทางวิทยาศาสตร์ สามารถเรียกสั้น ๆ อีกอย่างว่า ไนเตรท หรือ ไนไตรท์ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรียที่อยู่ในนั้น
เนื่องจากเนื้อสัตว์และวัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหาร จะเก็บได้นาน ไม่บูดไม่เสียง่าย ขึ้นอยู่กับอนุพันธ์ไนเตรตที่อยู่ภายใน จึงทำให้มีการใช้ดินประสิว ซึ่งเป็นสารโพแทสเซียมไนเตรท มาใช้ในการถนอมอาหาร ให้เก็บรักษาได้นาน ซึ่งด้วยคุณสมบัติของมันที่สามารถรักษาสีของเนื้อสัตว์ให้ดูสดอยู่ เสมอได้ โดยการทำปฏิกิริยากับสีของเม็ดเลือดแดง ทำให้สีคงทนอยู่ได้นาน เป็นเนื้อสีแดงสวย รวมถึงป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ดี โดยเฉพาะเชื้อคลอสตริเดียมโบทูลินัม ซึ่งเชื้อนี้สามารถสร้างสารพิษโบทูลิน ที่มีอันตรายร้ายแรงมาก ในอาหารที่เก็บในภาชนะปิดสนิทอากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ เช่น อาหารกระป๋อง จึงทำให้กลายเป็นสารกันบูดกันเสียอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมอาหาร
ดินประสิว กินได้หรือไม่
ด้วยคุณสมบัติของมันที่สามารถรักษาสีของเนื้อสัตว์ให้ดูสดอยู่ เสมอได้ โดยการทำปฏิกิริยากับสีของเม็ดเลือดแดง ทำให้สีคงทนอยู่ได้นาน เป็นเนื้อสีแดงสวย จึงมีการนำดินประสิวมาใช้เก็บรักษาอาหารในเนื้อสัตว์เช่น เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อวัว ของหมักดอง เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาแห้ง ไตปลาดิบ ปลาร้า ปลาเจ่า รวมไปถึงอาหารแปรรูปเช่น หมูยอ กุนเชียง ไส้กรอก เบคอน แฮม แหนม เนื้อสวรรค์ และผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องต่าง ๆ
โดยดินประสิวนั้น สามารถทานได้ ไม่เป็นอันตราย ! หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม โดยกระทรวงสาธารณสุขของไทย ได้กำหนดปริมาณการใช้ดินประสิวหรือไนเตรตในอาหารไว้ ให้ใช้ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม (0.5กรัม) ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ถ้าเป็นในรูปของไนไตรท์ ให้ใช้ได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
อันตรายแค่ไหนหากรับประทานดินประสิวเกินขนาด
1. ท้องร่วง ตัวชา หายใจไม่ออก
ถ้ารับประทานไนเตรตเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรงได้ และเมื่อสารไนเตรทถูกแบคทีเรียในกระเพาะอาหารและลําไส้เปลี่ยนให้เป็นไนไตรท์ จะทําให้ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารในเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ไม่สามารถนําพาออกซิเจนไปใช้ได้ ซึ่งหากฮีโมโกลบินมีระดับที่ผิดปกติสูงขึ้น มากกว่าร้อยละ 2 – 25 จะทําให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ตัวเขียว หัวใจเต้นเร็ว แต่หากสูงถึงระดับร้อยละ 50 – 60 จะทําให้หมดสติและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากมีปฏิกิริยาไวต่อสารเคมีชนิดนี้มากกว่าผู้ใหญ่
2. ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
ดินประสิว คือ สารเคมีที่เรียกว่า โพแทสเซียมไนเตรท (KNO3) ซึ่งเปลี่ยนรูปไปมาระหว่างไนเตรทกับไนไตรท์ได้โดยแบคทีเรียบางชนิด เมื่ออยู่ในรูปของไนไตรท์มันจะทำปฏิกิริยากับสารประกอบบางอย่างในอาหารที่เรียกว่าสารเอมีน (Amine) โดยมีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเป็นตัวช่วย ทำให้เกิดสารประกอบที่เรียกว่า ไนโตรซามีน (Nitrosamines) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เป็นมะเร็งที่ปอด หลอดลม หลอดอาหาร สำไส้ใหญ่ ลำไส้ดูโอดินัม ตับ ไต ผิวหนัง โพรงจมูก สมอง และกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
|