โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ‘เซโรโทนิน (Serotonin)’ มีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข มีแต่ความวิตกกังวล และหากปล่อยไว้ ผู้ป่วยอาจคิดสั้นฆ่าตัวตายได้
สาเหตุ/ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น
อาการแบบไหนเสี่ยงโรคซึมเศร้า
คุณเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่
หากมีอาการข้างต้น 5 อาการ หรือมากกว่า พบว่าตนเองมีอาการข้างต้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยมีอาการอยู่เกือบตลอดเวลาแทบทุกวัน ไม่ใช่เป็นๆ หายๆ อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ปรึกษา และรักษาต่อไป
โรคซึมเศร้า รักษาได้อย่างไร
สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีทั้งการรักษาโดยการใช้ยา การใช้จิตบำบัด การปรับมุมมองเปลี่ยนความคิด การปรึกษาจิตแพทย์ โดยวิธีการรักษาควรได้รับการประเมินโดยแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้การให้กำลังใจจากครอบครัว คนใกล้ชิด ถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะมีโอกาสคิดสั้นฆ่าตัวตายสูง หากมีเรื่องกระทบกระเทือนใจแม้เพียงนิดเดียว โดยจากสถิติพบว่า มากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายมีภาวะของโรคซึมเศร้าด้วย |