ส่องประวัติ การสำรวจ “เรือไททานิค”

ส่องประวัติ การสำรวจ “เรือไททานิค” ในวันที่เรือดำน้ำไททันหายปริศนา
 
ประวัติเรือไททานิค หรือ เรืออาร์เอ็มเอส ไททานิค (RMS Titanic) ชนภูเขาน้ำแข็งในมหาสมุทรแอตแลนติก จมลงในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) หลังจากออกเดินทางวันที่ 12 เมษายน
 
ไททานิค เป็นเรือเดินสมุทร สร้างเสร็จพร้อมให้บริการในปี พ.ศ.2455 จัดเป็นเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ หรือเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ เวลานั้น บุคคลที่มีฐานะร่ำรวยต้องการคมนาคมข้ามประเทศจึงเลือกใช้บริการ โดยมีกำหนดการออกจากท่าเรือที่เซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ไปยังนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เรือออกจากท่าได้ไม่กี่วัน ก็จมลงกลางมหาสมุทรท่ามกลางความช็อกของผู้คนที่ทราบข่าว
เรือไททานิค มีผู้โดยสาร 2,208 คน แบ่งเป็นลูกเรือ 860 คน ขณะเกิดเหตุ เรือบด หรือเรือช่วยชีวิต มีจำนวนไม่เพียงพอต่อผู้โดยสาร โศกนาฏกรรมครั้งนี้ถือเป็นเหตุการณ์สูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชาวอังกฤษ ในทุกปีญาติพี่น้องของผู้รอดชีวิตจากเรือไททานิก ก็จะจัดพิธีรำลึกถึงญาติพี่น้อง ณ จุดที่ซากเรือไททานิคล่ม
 
 
"เรือที่ไม่มีวันจม" 
 
ประโยคเชิญชวนสุดเร้าใจนี้ เป็นเหมือนคำโฆษณาของ เรือไททานิค เรือเดินสมุทรจากอังกฤษที่ได้ชื่อว่าใหญ่และหรูหราที่สุดในยุคต้นศตวรรษที่ 20 แต่เเล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เรือไทานิกได้จมลงในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455 หลังชนกับภูเขาน้ำแข็งบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
ข้อสงสัยสาเหตุที่ทำให้เรือไททานิคล่มเกิดจาก
 
1. อุปกรณ์ความปลอดภัยไม่เพียงพอ
 
การล่มของเรือไททานิค ระบุว่าเกิดจากการชนกันของเรือกับภูเขาน้ำแข็ง ส่วนความสูญเสียที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการบรรจุเรือชูชีพที่ไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้โดยสาร รวมถึงการฝึกฝนลูกเรือให้รองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น มีระบุกำหนดการเข้าวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2455 ก่อนเกิดเหตุ 1 วัน ผู้โดยสารและลูกเรือควรได้เข้ารับการฝึกซ้อมระบบความปลอดภัย แต่ถูกยกเลิกไปเนื่องจากปัญหาด้านการจัดการการสื่อสารด้วยวิทยุโทรเลข
 
2. ความขัดข้องทางเทคนิคการสื่อสาร
 
สมัยนั้นการเดินทางบนเรือเดินสมุทรใช้เวลานานนับเดือน การสื่อสารวิทยุโทรเลข เน้นบริการแก่ผู้โดยสารกับคนบนบกมากกว่า ไม่ได้จัดพื้นที่ไว้ให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยบนบก ภายหลังเกิดเหตุเรือไททานิกล่ม ระบบวิทยุการสื่อสารภาคพื้นทะเลกับเรือเดินสมุทร จึงให้ความสำคัญกับข้อมูลด้านความปลอดภัยมากขึ้น
 
3. ความเร็วของเรือไททานิค
 
ผู้เชี่ยวชาญให้ความคิดเห็นว่า ที่เรือไททานิคต้องใช้ความเร็วเรือสูง ท่ามกลางการเดินทางผ่านธารน้ำแข็งนั้น เพราะต้องการให้เรือเดินทางไปยังจุดหมายต่อไปได้เร็วขึ้น เนื่องจากปริมาณเชื้อเพลิงที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอ จึงต้องการแล่นเรือให้เร็ว เพื่อย่นระยะทาง จึงทำให้ไม่สามารถหลบภูเขาน้ำแข็งที่เผชิญได้
 
 
 
เปิดประวัติการสำรวจ “เรือไททานิค” ในวันที่เรือดำน้ำหายปริศนา 
 
  • ปี 2528 (ค.ศ. 1985) – ไซต์ไททานิคถูกค้นพบโดยทีมอเมริกัน-ฝรั่งเศส
  • ปี 2529 (ค.ศ. 1986) - ทำการสำรวจซากเรือ ทีมงานจาก Woods Hole Oceanographic Institution ได้บันทึกวิดีโอแรกของซากเรือลำนี้
  • ปี 2530 (ค.ศ. 1987) - ภารกิจกู้ซากเรือครั้งแรกรวบรวมสิ่งของจากเรือไททานิคได้ 1,800 ชิ้น
  • ปี 2538 (ค.ศ. 1995) - เจมส์ คาเมรอน เยี่ยมชมซากเรือ มีการใช้ฟุตเทจในภาพยนตร์เรื่องไททานิกของเขา
  • ปี 2541 (ค.ศ.1998)  - นักท่องเที่ยวกลุ่มแรกไปดำน้ำที่นั่น 
  • ปี 2541 (ค.ศ.1998) - ยกส่วนของเรือไททานิคขึ้น
  • ปี 2548 (ค.ศ.2005) - เรือดำน้ำที่มีลูกเรือ 2 ลำ ดำน้ำไปที่ซากเรือ
  • ปี 2553 (ค.ศ.2010)  - หุ่นยนต์อัตโนมัติทำแผนที่ไซต์เรือไททานิค 
  • ปี 2555 (ค.ศ.2012) - ซากเรือได้รับการคุ้มครองโดย Unesco
  •  ปี 2562 (ค.ศ.2019) - ยานดำน้ำลึก DSV ซึ่งตั้งชื่อว่ายาน Limiting Factor ลงสำรวจและถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีบริเวณซากเรือไททานิค ในรอบ 14 ปี
  • ปี 2563 (ค.ศ.2020)– สหรัฐฯ และอังกฤษตกลงสนธิสัญญาคุ้มครองซากเรือไททานิค
  • ปี 2564 (ค.ศ.2021)– OceanGate ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในการเข้าถึง
  • ปี 2566 (ค.ศ.2023)– การสแกน ซากเรือด้วยระบบดิจิตอลขนาดเต็มครั้งแรก ถูกสร้างขึ้นโดยใช้การทำแผนที่ใต้ทะเลลึก

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่